วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

[อ่าน] edutainment essay

ผม จำไม่ได้ว่าครั้งแรกได้ยินชื่อ อาจารย์ ตอนไหน

แต่ว่า เมื่องานสัปดาห์หนังสือที่ผ่านมาผม สะดุดกับหนังสือที่มีชื่ออาจารย์บนปก

หนังสือที่ผมเห็นเป็นหนังสือชุด มีทั้งหมด 10 เล่ม

แต่ ที่ร้านหนังสือ มีไม่ครบ ขาดเล่ม 4 กับเล่ม 10 

ผมกวาดหนังสือที่มีชื่ออาจารย์​มาทุกเล่ม และกลับมากอ่าน

หนังสือชุดเหล่านั้น ชื่อหนังสือชุด



e d u t a i n m e n t    e s s a y

ซึ่งลำดับของหนังสือ มีดังนี้


//FIRST

//BEST

//DIFFERENT

//NICHE



//TREND




หลังจากได้อ่านหนังสือของอาจารย์แล้วไม่รู้จะบรรยายยังไงเลยครับ

ทำไมอาจารย์​ถึงเขียนได้ สั้นกระชับ ได้ใจความ

ทำไมหนังสืออาจารย์น่าอ่านต่อ และติดตาม จนวางไม่ลง

ทำไมอาจารย์​มีความรู้ที่กว้าง ขวางขนาดนี้ 

ทำไมผมพึ่งรู้จักหนังสือของอาจารย์​

คือความรู้ที่อาจารย์ใส่ไว้ มันทำให้รู้สึกว่า 

ผมไม่รู้อะไรจริง ๆเลย เทียบกับสิ่งที่อาจารย์​เขียน

แล้วก็หยิบหนังสืออาจารย์อ่านต่อไป ...




คิดถึงคำพูดของ พี่โหน่ง a day เลยว่า

สำหรับคนไทยแล้ว หนังสือเปรียบเสมือนของสะสมที่มีค่า 

หนังสือของอาจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นหนังสือที่มีค่ามากสำหรับผม

นอกจากหนังสือแล้ว ผมก็ตาม page ของอาจารย์เพื่ออ่าน บทความที่ update




บทความด้านล่างนี้ได้มาจาก FACEBOOK ของ OLARN BOM Weranond 


วันนี้มีโอกาสได้อ่าน Line Forward บทความเรื่อง
Industry 4.0 กับ 10 ประการ
ที่ต้องเตรียมรับมือในขั้นต้นของ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
เมื่อ 26-28 ก.พ.2559 เห็นว่าดีจึงนำมาแบ่งปันกันครับ
อ.วรากรณ์ คือปราชญ์ด้านการคิดและการศึกษาไทย 
มีผลงานประจักษ์มากมายทั้งในภาคราชการ การเมือง และภาคเอกชน 
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (2550)
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (2534-2537)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ฯลฯ
โดยส่วนตัวผมติดตามงานเขียนของ อ.วรากรณ์ ตังแต่ยังเป็น
นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ประทับใจในเรื่องการสื่อสารเรื่องวิชาการ
เป็นเรื่องง่ายๆ แบบไม่ต้องปีนบันไดฟัง
พร้อมยกตัวอย่างและประสบการณ์จริงให้ผู้คนทั้งไป สามารถเข้าใจได้ผ่านเรื่องใกล้ตัว และจุดประกายความคิดด้วยเกร็ดความรู้จากทั่วโลก
สำหรับใครที่อยากให้ลูกหลาน รวมทั้งตัวเอง มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน โลกาภิวัฒน์ ธุรกิจ การตลาด การพัฒนาการในแวดวงต่างๆ ฯลฯ ผมแนะนำหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” “รู้ก่อนรวยกว่า” “แสงแดดยังมีราคา” และ บทควมประเทืองปัญญาที่นำเอามารวมเล่มเป็นซีรีย์ชุด “Edutainment Essay” First / Best / Different... จนถึง Bravo (แนบตัวอย่างมาให้ด้านท้าย เพื่อท่านใดจะไปติดตามอ่านรับรองว่าคุ้มค่าครับ)
ด้านล่างคือข้อความที่ได้รับมาผ่าน Line Forward
ที่ต้องขอขอบคุณผู้เรียบเรียง ที่สรุปออกมาได้ดี ทำให้เข้าใจเรื่อง Industry 4.0 ได้โดยง่าย
กระแสนี้กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอุตสาหกรรมทั่วโลกและขยายไปในทุกวงการ และเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน หากเรารู้เทรนด์ รู้ทัน และลงมือทำ จะได้ประโยชน์มากครับ
……………………
Industry 4.0 กับ 10 ประการ
ที่ต้องเตรียมรับมือในขั้นต้นของ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เมื่อ 26-28 ก.พ.2559
คำในภาษาอังกฤษที่มีคนพูดถึงกันมากในปัจจุบัน คือ 
The Fourth Industrial Revolution หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4
ซึ่งการปฏิวัติครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1784 หรือ 232 ปีก่อน โดยใช้น้ำและไอน้ำเป็นพลังในการผลิต 
ครั้งที่สองในปี 1870 ใช้ไฟฟ้าในการผลิตอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ครั้งที่สามในปี 1969 ใช้อิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงถึง 3 ครั้ง ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมมนุษย์อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติครั้งสุดท้าย
อย่างไรก็ดี ในขณะนี้โลกกำลังเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบัณฑิตทุกคนในด้านการดำรงชีวิต การทำงาน และการประกอบอาชีพอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ หากบัณฑิตไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว การศึกษาที่ท่านได้รับไปนี้ ในเวลาอันไม่นานอาจไม่มีความหมายต่อชีวิตของท่านมากดังที่ท่านคาดหวัง
การปฏิวัติครั้งที่ 4 นี้ ก็คือ 
“การต่อยอดการปฏิวัติครั้งที่สามซึ่งบางครั้งเรียกว่าการปฏิวัติดิจิตัล” 
โดยการนำเอาเทคโนโลยี 5 ด้าน อันได้แก่ 
ปัญญาประดิษฐ์ พันธุวิศวกรรม นาโนเทคโนโลยี การพิมพ์สามมิติ และเทคโนโลยีชีวภาพ 
มาร่วมกันผลิตสินค้าและบริการนานาประการ
ตัวอย่างได้แก่ หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ เครื่องมือตรวจร่างกายแทนแพทย์ การฉีดหุ่นยนต์ขนาดมองไม่เห็นเข้าไปในร่างกายเพื่อรักษาโรคและปรับปรุงยีนส์ เครื่องบินที่ชิ้นส่วนติดต่อถึงกันเพื่อซ่อมแซมส่วนบกพร่อง stem cell ซ่อมเสริมอวัยวะและชะลอวัย รถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานขนานใหญ่ในโลก ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตและการจ้างงาน ในอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างยิ่ง
เรื่องที่กล่าวมานี้ เป็นหัวข้อของการประชุมระดับโลกที่มีชื่อว่า World Economic Forum เมื่อเดือนที่ผ่านมา ในการศึกษาประกอบการสัมมนาครั้งนี้ได้สัมภาษณ์ นายจ้างและลูกจ้างรวม 13.5 ล้านคน ครอบคลุม 371 สถานประกอบการขนาดใหญ่ในทุกทวีปทั่วโลก รวมทั้งประชาคมอาเซียนด้วย และพบว่า
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ดังกล่าว จะสร้างโอกาสการทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต เปลี่ยนวิธีการทำงาน และทำให้งานหลายลักษณะหายไปจากโลก เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่แทนที่มนุษย์ คนจำนวนมากจะหางานทำไม่ได้ จะถูกเลิกจ้างงาน ผู้ประกอบจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน อาจต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมาก
งานศึกษาชี้ให้เห็นว่า มี 10 ประการ ที่พึงพิจารณาสำหรับการรับมือในขั้นต้น ซึ่งได้แก่
(1) ทักษะการแก้ไขปัญหา 
(2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 
(3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 
(4) ทักษะการบริหารจัดการบุคคล 
(5) ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น 
(6) ทักษะการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ 
(7) ทักษะการตัดสินใจ 
(8) ทักษะการเจรจาต่อรอง 
(9) การมีใจรักบริการ และ 
(10) ความยืดหยุ่นทางความคิด
ใน 8 ประการแรก คือ ทักษะหรือความสามารถในการกระทำบางสิ่งซึ่งเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนข้ามเวลา มิได้มาจากการมีมันสมองอันเป็นเลิศ ส่วน 2 ประการสุดท้าย คือ การมีใจรักบริการและการมีความคิดที่ยืดหยุ่น ซึ่งประการสุดท้าย เป็นเรื่องที่ผมขอขยายความ
การมีความคิดที่ยืดหยุ่น หมายถึงการมีใจกว้าง ไม่คับแคบอยู่แต่ในสาขา หรือวิชาที่ตนเรียนมา ไม่ติดกับดักของความเคยชินที่เคยคิดหรือเคยปฏิบัติมา กล้าที่จะปรับใจปรับตนเองเพื่อให้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และนี่คือหัวใจของการหาประโยชน์จากการปฏิวัติครั้งสำคัญนี้
การเปิดใจพยายามฝึกฝน 8 ทักษะข้างต้นซึ่งทุกคนล้วนมีอยู่บ้างแล้วนั้น คือก้าวสำคัญของการเพิ่มเติมความรู้ที่ท่านมีอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดความพร้อมสำหรับช่วงเวลาข้างหน้าของชีวิต
Cr. Info found online all credit belong to owner.
……….
เกร็ดเพิ่มเติม
-ติดตามผลงานของ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้ทาง www.varakorn.com 
-ตัวอย่างการนำเอา Industry 4.0 ไปประยุกต์ใช้ โดย Volkswagen Group 
.........
ด้วยความปรารถนาดี
BomOlarn บอม โอฬาร
Super Connector & Serial Entrepreneur
คอนเนคชั่น พันล้านสานเองได้
Managing Director, Absolute-Code Co., Ltd.
Director and Founder, TamGin Academy 
Marketing Director and Founder, Wow Village Co., Ltd.
Managing Director, Real Estate Reborn Co., Ltd.
Co-Founder, iCrowdInvest

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น