หากจะเปรียบ
ส. ธรรมยศ เป็นราชสีห์แห่งการเขียน
แล้วไซร้ เธอก็เห็นควรเรียกขนาน
ส. ศิวรักษ์ว่า ราชสีห์แห่งการพูด
หนังสือชุดนี้มีเล่มต่อ คือ
ราชสีห์คำรามภาษาฝรั่งแปลไทย
จะเห็นได้เลยว่าราชสีห์ตัวนี้พูดได้คำรามได้หลายภาษาทีเดียว
// ราชสีห์ แห่งการเขียน ส.ธรรมยศ ผู้เขียน Rex Siamen Sium
อุ ด ม ค ติ ข อ ง ค น ห นุ่ ม ส า ว
1. การใช้สติปัญญาความสามารถอย่างดีที่สุด
การที่เราจะรู้ถึงวิธีที่จะใช้สติปัญญาความสามารถอย่างดีที่สุดนั้น
เราต้องหางทางรู้จักตัวเราเองให้มาก ๆ
2. การกระทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นในวงกว้างอย่างมากที่สุด
เริ่มต้นด้วยความไม่เห็นแก่ตัว
ปี 2514 ที่เขียนไว้ อาจารย์ ยังเขียนไว้เลยว่า
แพทย์เวลานี้คิดกันแล้วด้วยซ้ำว่า พอสำเร็จแล้วจะหาเงินได้ นาที ละเท่าไหร่
นักเรียนรัฐศาสตร์ก็คิดกันว่าจะไปเป็นเข้าคนนายคนได้โดยวิธีไหน
3. คุณธรรมเป็นสิ่งจำเป็น
คติประจำใจของพระยาอนุมานราชธน
"เงินเป็นแต่ปัจจัยให้เกิดความสุข ไม่ใช่เป็นตัวความสุขโดยตรง
ความสุขที่แท้จริงคือปัญญา อนามัย ไมตรี มีสามัคคีธรรม และการงานที่เป็นสัมมาชีพ
และสิ่งเหล่านี้ต้องมีความประพฤติ การปฏิบัติ ด้วยความมานะพยายามมีความขยันหมั่นเพียร
ประกอบด้วยจึงจะสมบูรณ์"
The Left Review ข้อเขียนของ ลูกาซ
ข้ อ คิ ด สำ ห รั บ นั ก พู ด
raremest verba sequenter
นักพูดจะต้องเป็น นักคิดมาก่อน
การที่คุณจะเป็นนักคิดได้ คุณจะต้องมีข้อเท็จจริงที่เพียงพอ
แล้วข้อเท็จจริงที่เรา มี เราซื่อแค่ไหน
เรา เสนอ Information หรือ Manipulation
การที่เราถูกบอกให้เกลียดนู่น เกลียดนี่ ให้พิจารณาให้ดี
ยิ่งเราเกลียดมาก มันเป็นโทสะจริต
ยิ่งเราเกลียดมา เรายิ่งคด เราจะไม่ซื่อ
" มีคำหนึ่งนะครับ ของท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
ซึ่งทางอิสานถือว่าท่านเป็นพระอรหันต์รูปสุดท้ายในเมืองไทย ท่านบอก
ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัตินำมาเทศนาสั่งสอนก็จะเป็นพระสัทธรรม
// สัทธรรม แปลว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าผู้ซึ่งไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมนำมาสั่งสออน จะเป็นสัทธรรมปฎิรูป คือเป็นความฉ้อฉล
// สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เลือนหายไป หรือ คำสอนปลอม
ปฏิรูปนั้นจะธานินทร์ หรือไม่ธานินทร์ก็ตาม เลวทั้งนั้น"
ทหารกับเศรษฐกิจไทย
ทหารนี้พระจุลจอมเกล้าฯ ท่าคิดเอาอย่างฝรั่งมาตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ นี่เอง
ตั้งขึ้นเพราะอะไร มี ๒ เหตุผล คือ
๑.แน่นอน เพื่อป้องกันพระราชอาณาจักร ป้องกันอริราชศัตรู อันนี้คือเหตุผลที่เปิดเผย
๒. ที่ไม่ค่อยประกาศเปิดเผยคือ ทหารตั้งขึ้นเพื่ออุดหนุนชนชั้นปกครองให้มีอำนาจวาสนา
พระจุลจอมเกล้าฯ ตั้งทหารขึ้นเพื่ออุดหนุนพระราชวงศ์จักรี ให้เอาชนะพวกสกุลบุนนาค
เอาชนะพวกขุนนาง
Objective National Strategic Policy Plan
หนังสือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, เคล็ดไทย ๒๕๒๔
เนื้อหาที่เหลือต้องอ่านเอง แล้วแหละ มันส์ทุกวลี พิมพ์ไม่ไหวครับ
ป า ฐ ก ถ า ๖ เ ดื อ น รสช. ค ว า ม ถ ด ถ อ ย ข อ ง ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ไ ท ย
อาจารย์ปรีดี ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมาเพื่อ
สิทธิของประชาชน ให้พึงเสมอภาคกัน
ประชาธิปไตยหมายถึง เคารพ ราษฎร เคารพซึ่งกันและกัน ทุกคนเสมอภาคกัน
ไม่ใช่ เพียงแค่ มีนายก จากการเลือกตั้ง
ถ้าปลุกมโนธรรมขึ้นมาไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่ประชาธิปไตยจะเดินหน้าได้
ความเลวร้ายของคุณบรรหาร ศิลปอาชา นั้น คุณ อนันต์ เสนาขันธ์ พิมพ์หนังสือเป็นพัน ๆเล่มขาย
คุณประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีคลังได้ทำความเลวร้านไว้เยอะที่กระทรวงการคลัง เป้นที่รู้กันทั่ว
"บุคคลที่พึงปรารถนานั้น ควรไม่ยึดติดอยู่ในโลกธรรม
แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักบุญ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง
แต่ก็ใช่ว่าจะรามือจากกิจการงาน
ใจดี แต่ไม่ใช่ประเภทแสดงออกอย่างหวานชื่นตลอดเวลา
แม้จะได้รับรายงานว่าดี หรือเลวอย่างไร คนพวกนี้ก็จะทำงานต่อไป
โดยยึดถือเอาแสงแห่งสัจจะเป็นตัวนำทาง เท่าที่เขาจะแลเห็น
พร้อมที่จะลังเล แต่ก็ไม่ให้การงานหยุดชะงักไป
พร้อมที่จะรู้เท่าที่จะรู้ได้ อะไรที่ยังไม่รู้ ก็ยังไม่ติดสินลงไป
แต่คนพวกนี้จะไม่มีโอกาสได้เป็นผู้นำโลก
เพราะการรีบเข้าไปรับทำงานต่าง ๆ อย่างที่เป็นที่จับตาของฝูงชนนั้น
ขึ้นอยู่กับความโง่เขลา และความบ้าคลั่งที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของสันดาน
บุคคลชนิดที่เอ่ยมาข้างต้นนี้ต่างหาก คือผู้ที่กล้าจุดประกายไฟในยามที่มีพายุโหมมาอย่างแรง
ในปัจจุบันเราต้องการคนเช่นนี้ยิ่งกว่าเวลาอื่นใด
ขอให้ได้มีการสืบต่อคุณค่าของบุคคบประเภทนี้กันไว้ต่อไป อย่าให้ขาดสายเสียเถิด"
คำ แ ถ ล ง ปิ ด ค ดี ด้ ว ย ว า จ า
คดีหมายเลขดำที่ ๑๙๐๑/๒๕๓๖
และในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นี้เองที่
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น ได้นำเอา ๔ อดีตรัฐมนตรีคือ
นายถวิล อุดล
นายจำลอง ดาวเรือง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
นายทองเปลว ชลภูมิ
ไปประหารชีวิตเสียที่บางเขน
ทั้งๆ ที่บุคคลทั้ง ๔ เคยมีคุณูปกามากับบ้านเมืองเป็นอเนกประการ
ยังนาย เตียง ศิริขันธ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และเสรีไทยคนสำคัญ
ก็ถูกทางราชการสังหารเสียเช่นกัน
หรือกรณี นาย ตี๋ ศรีสุวรรณ ที่เป็นพยานปากสำคัญ ในคดีหนึ่ง
ต่อมาไปบวชเป็นพระและยอมรับสารภาพว่าตนได้เป็นพยานเท็จ
แต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตของผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ นั้นได้แล้ว
"อิสรภาพหรือเสรีภาพไม่ใช่ผลสำเร็จอย่างอัตโนมัติจากการพัฒนา
สำหรับพวกเราที่ยกย่องอิสรภาพนั้น
พึงตราไว้ว่าการรักอิสรภาพเท่านั้นไม่เพียงพอ
อิสรภาพขึ้นอยู่กับความสามารถของเราที่จะเข้าใจว่าอะไร คือศัตรูที่สำคัญยิ่งของอิสรภาพ
และการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพนั้น
ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจเจกบุคคลซึ่งพร้อมจะยืนหยัด
ไม่เพียงเพื่อรักษาสิทธิของตน หากเพื่อปกป้องสิทธิของเพื่อนบ้านด้วย
จำต้องมีความกล้าหาญและความพยายามเป็นอย่างยิ่งเพื่อการนี้
และยิ่งไปกว่านี้ ก็คือต้องใช้สติปัญญาเพื่อนำมารักษาอิสรภาพไว้ให้ได้
เพื่อไม่ให้คุณค่าอันสำคัญสุดนี้ถูกทำลายไป
ประวัติศาสตร์ในอดีตและเหตุการณ์ร่วมสมัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
การต่อสู้เพื่ออิสรภาพนั้น ไม่ได้แปลว่าเราจะได้รับอิสรภาพเสมอไปแต่พร้อมกันนั้น
ประวัติศาสตร์ก็ยืนยันว่ากำลังใจของมนุษย์ที่จะแสวงหาอิสระภาพนั้น
ไม่อาจปรายให้ราบคาบลงได้"
บทความดังกล่าวเป็นของ สุชาตโมโก ปัญญาชนคนสำคัญของอินโดนีเซีย
คำ พิ พ า ก ษ า
คดีหมายเลขดำที่ ๑๙๐๑/๒๕๓๖
คดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๔๓/๒๕๓๘
หัวข้อปาฐกถา ในหัวข้อเรื่อง
ประชาธิปไตยกับการรัฐประหาร
๖ เดือน รสช. ความถดถอยของประชาธิปไตยไทย
ทิ ศ ท า ง ใ ห ม่ ข อ ง ก า ร พู ด
สู่ ก า ร ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สั ง ค ม ไ ท ย
หนังสือ พูดไม่เข้าหูคน
บัดนี้ใครในเมืองไทยที่ยืนหยัดอย่างเป็นสง่า ใช้คำพูดเพื่อความดี ความงาม และความจริง
ยืนอยู่ฝ่ายผู้ยากไร้ ที่ถูกเบียดเบียนทีฑา โดยตัวเขาเองต้องถูกถีบ ถูกกระทืบ
จากหน่วยงานรัฐ และบรรษัทข้ามชาติด้วย
ดูต่อไปด้วยว่า
เขาทำตามที่พูดหรือไม่
นักพูดควรรู้จักตัวเองว่าถูก อคติ ๔ ครอบงำหรือไม่
ถ้าสนใจเพิ่มเติม ให้หาความรู้ได้จากเรื่อง
นายปรีดี พนมยงค์ กับกรณีสวรรคตของรัชการที่ ๘ ของ นายสุพจน์ ด่านตระกูล
เรื่อง พระทูลกระหม่อมแก้ว จากพสกนิกรไปแล้ว ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ โดยสุพจน์ ด่านตระกูล
สุ ท ร ก ถ า เ นื่ อ ง ใ น ง า น รำ ลึ ก ใ ห ญ่
๓ ปี สิ้นเจริญ วัดอักษร
อนึ่ง พึงตราเอาไว้ว่า เมืองไทยในบัดนี้มีความเป็นไปในสองกระแส
กระแสหนึ่ง เรียกว่ากระแสหลัก
ผู้ซึ่งสมาทานแนวทางนี้คือคนที่ตั้งตนเป็นชนชั้นบน
ที่เป็นฝ่ายอำนาจนิยม ทุนนิยม และอัตตนิยม ในแนวทางของโลกาภิวัฒน์
ซึ่งถือว่าคำตอบต้องมาจากวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างฝรั่ง
วิชาการต่าง ๆ ก็ล้วนได้รับมาจากฝรั่ง ไม่ว่าจะสังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์
แม้จนแพทยศาสตร์
ยิ่งพวกเรียนจบมาจากทิศาปาโมกข์ฝรั่งด้วยแล้ว
ยิ่งอ้าขาผวาปีก เห็นว่าสยามจำต้องเดินตามก้นฝรั่งอย่างไม่มีทางเลี่ยงได้
เทคโนโลยีล่าสุดคือคำตอบ ทุนนิยมคือคำตอบ
แม้บรรษัทข้าชาติจะน่ากลัว แต่เราก็น่าจะฉลาดพอ ที่จะปรับตัวเข้ากับมันได้
เราต้องทำกงจักรให้เป็นดอกบัวให้ได้
กงจักรจะกลายเป็นดอกบัว
ก็ต่อเมื่อเราเชิดชูคนเล็กคนน้อย
นี้แลจะเป็นการเคารพสัจจะ
แล้วเราจะเกิดความกล้าทางจริยธรรม นั้นคือความทระนง ณ ธรณี ที่แท้
เ ปิ ด นิ ท ร ร ศ ก า ร
อวบ สาณะเสน
อาจารย์ อวบ สาณะเสน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่
สมัย กระดึงทอง
สังคมศาสตร์ปริทัศน์
งานของท่าน อังคาร กัลยณพงศ์
งานของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
งานของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
// ขอแปะ วาร์ป เพื่ออ่านประวัติคร่าว ของอาจารย์ อวบ สาณะเสน http://iiiiiamnana.exteen.com/20100407/entry
ปัจฉิมกถา ณ รัฐสภา
วาระร้อยปี ปรีดี พยมยงค์
หัวหน้าพรรคก้าหน้าและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ ๒
ยกย่องบุคคลต่างๆ มากมายที่ไม่ได้อยู่ในขบวนการสันติประชาธรรม
แต่หาทางห้ำหั่นทำลายอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ อย่างจงใจอีกด้วย
บทเพลงชิ้นสุดท้ายของปรีดีคีตานุสรณ์ ที่ยกเอาพระพุทธวัจนะมาเอ่ยไว้นั้นนับว่าเหมาะสมยิ่ง
"ยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ ย่อมมองเห็นได้แต่ไกลฉันใด
ความดีของมนุษย์ ก็ย่อมมองเห็นได้แต่ไกลฉันนั้น"
จาก https://issuu.com/pridi-phoonsuk/docs/phoonsuk-95-years-book/392
หนังสือ กล้า ๆ กลัว ๆ ชนชั้นปกครอง กับงาน ๑๐๐ ปี ปรีดี พนมยงค์
คำกล่าวปิดงาน
๑๐๐ ปี ศรีบูรพา
กล่าวถึงหนังสือของ สายชล สัตยานุรักษ์
ว่าเธอได้แบ่ง ปัญญาชนออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ในหนังสือ ปัญญาชนสยาม
หากปีที่คุณกุหลาบต้องพลัดพรากจากประเทศไทยไปนั้น
เป็นต้นตอให้ปัญญาชนกระแสหลักเข้มแข็งยิ่งขึ้น ในทางอาสัตย์อาธรรม์
ในความอ่อนแอทางจริยธรรมอย่างถอนรากถอนโคนจากรากเหง้าต้นตอที่ดีงามของสังคมไทย
ปัญญาชนเหล่านี้ มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และหลวงวิจิตรวาทการ เป็นแกนนำ
ทั้งคู่ยินดีรับใช้เผด็จการอย่างปราศจากความสงสัยใดๆ
แม้พุทธศาสนาก็เหลืออยู่เพียงแค่รูปแบบ และพิธีกรรม
ปัญญาชนกระแสหลัก รวมทั้งศาสนจักร ได้กลายไปเป็นร่างทรง
ของลัทธิทุนนิยม และบริโภคนิยม ไปเอาเลย
// หลายครั้งที่ความเห็นของอาจารย์สุลักษณ์ต่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ และ หลวงวิจิตรวาทการ
ในรูปแบบนี้ แต่เนื่องจากผม ยังไม่เคยอ่านงานของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
ส่วนงานของหลวงวิจิตรวาทการเคยอ่าน บ้างคร่าว ๆ
ยิ่งทำให้อยากอ่านงาน ของทั้งสองมากขึ้นเพื่อดูว่า เหตุใด อาจารย์จึงกล่าวเช่นนั้น
แต่บ่อยครั้งก็รู้สึกอคติไปเลยว่า อย่าเสียเวลาอ่าน หึ่ม
แนะนำหนังสือ ศิวพจน์ เพื่อศิวโมกข์, ศยาม ๒๕๔๙
ปัจฉิมกถา งาน ๑๐๐ ปีชาตกาล
อาจารย์หมอเสม พริ้งพวงแก้ว
แพทย์ นี้เป็นไวพจน์กับ วิทยะ คือความรู้ที่แท้จริง
ซึ่งทางภาษาบาลีใช้คำว่า วิชชา อันตรงกันข้ามกับ
อวิชชา ความหลง ความยึดถือ อย่างผิดๆ หรืออย่างเป็นเสี่ยง ๆ
โดยอ้าขาผวาปีก ว่าตนเรียนรู้มาดีกว่าคนอื่น สูงส่งกว่าคนอื่น
ยิ่งได้ไปชุบตัวในต่างประเทศมาด้วยแล้ว ยิ่งมักกำเริบเสิบสานกันยิ่งนัก
และยิ่งแพทย์ที่มีอติมานะเช่นนี้ บวกไปกับอวิชชา ซึ่งยืดมั่นถือมั่นว่า
จำเพาะความรู้ในแวดวงของตนเท่านั้น คือคำตอบ
นั่นคือเหตุแห่งความหายนะ โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงเอาเลยก็ได้ว่า
แพทยศาสตร์สยบอยู่กับลัทธิทุนนิยม และบริโภคนิยมมากเพียงใด
โดยมิใยต้องเอ่ยว่า บรรษัทยา และบริษัทที่ควบคุมเครื่องยนต์กลไก
ในสิ่งซึ่งอ้างถึงความทันสมัยต่างๆ ในทางการแพทย์สมัยใหม่นั้น
นับว่าเป็นอันตรายในวงการแพทย์อย่างมหันต์
เมื่อใดแพทย์แลเห็นว่าวิชาชีพของตนเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของความรู้
ซึ่งมักถูกผนวกเอาไว้กับอวิชชาแล้วไซร้ นั่นแหละ เขาอาจจะเกิดมนสการขึ้นได้ว่า
ความเป็นมนุษย์ของเขาสูงส่งมากกว่าความเป็นแพทย์
โดยเขาน่าจะต้องตราต่อไปด้วยว่า อวิชชา หรือโมหจริตนั้น
มักโยงไปถึงโลภจริต ที่ทำให้หมอมักร่ำรวยเกินคนธรรมดาสามัญมากเกินไป
โดยไม่ต้องเอ่ยถึงก็ได้ว่า การแพทย์สมัยใหม่โยงไปถึงโทสจริตด้วย
ดังคงสังเกตได้ว่า นายแพทย์มักเข้าไปมีบทบาทในการบริหารงานต่าง ๆ กันมิใช่น้อย
เช่น พากันไปเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นต้น
โดยที่รู้กันไหมว่า การบริหารจัดการนั้น ๆ ทำให้เขาตกอยู่ใต้โทสจริต
ซึ่งโยงไปถึงโลภจริต และโมหจริตพร้อม ๆ กันไป
ยังนายแพทย์ชั้นนำจำนวนไม่น้อยก็เข้าไปข้องแวะกับนักการเมือง
นักการทหารอย่างรู้ตัวทั่วพร้อมเพียงใด ตระหนักกันบ้างไหม
หาไม่นายแพทย์บางคนก็เตรียมให้ทายาทได้ไต่เต้าไปเอาดีทางการเมืองเอาเลย
โดยเขาแลเห็นไหมว่านั่นคือผลพลอยได้จากอกุศลมูลทั้งสาม
ดังที่กล่าวมาแล้วมากกว่าอะไรอื่น
แนะนำหนังสือ
ขบวนการสานต่อ หนึ่งศตวรรษยืนหยัดเพื่อสังคม: เสม พริ้งพวงแก้ว
รากงอก ก่อนตาย: คำพูดและข้อเขียนเมื่อ ส. ศิวรักษ์ อายุ ๗๙ ปี
กถามุขในวาระ ๓๘ ปี ๖ ตุลา ๑๙
ขอเน้นย้ำตรงนี้ไว้ก่อนนะครับว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นั้น นับว่าเป็นความเลวร้ายอย่างที่สุดของสังคมสยาม
รัฐประหาร ๒๔๙๐ ทำลายล้างนายปรีดี พนมยงค์ฃ
วิกฤติการณ์ ๖ ตุลาคม ได้ทำลายนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งหาไม่ได้อีกแล้ว
ที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย จะมีจุดยืนทางประชาธิปไตย หรือความกล้าหาญทางจริยธรรม
พร้อมกันนั้น เราจะต้องตั้งจิตโดยสำนึกเอาไว้ว่า
เราจำเป็นต้องเอาสาระของประชาธิปไตยกลับมา
โดยอย่าไปใยไพกับการคืนความสุขให้ประชาชน ซึ่งมันเป็นของปลอม
และพึงตราไว้ด้วยว่าการรัฐประหารใดๆ ก็นำไปสู่สาระของประชาธิปไตยไม่ได้
นักวิชาการคนใดต้องการรับใช้เผด็จการ ต้องการเข้าไปมีตำแหน่งหน้าทีใด ๆในทางการเมือง
ก็จงอโหสิให้เขา แต่อย่าเอามาเป็นเยี่ยงอย่าง
หนังสือ พูดความจริงกับผู้มีอำนาจ
สุนทรพจน์ เนื่องในโอกาส ๑ ทศวรรษชาติกาล
นายกำจัด พลางกูร
"เพื่อชาติ เพื่อ Humanity นะคุณ
เคราะห์ดีที่สุด อีก ๔๕ วันก็ได้พบกัน
เคราะห์ไม่ดีนัก อย่างช้าอีกสองปี ก็ได้พบกัน
และเคราะห์ร้ายที่สุด ก็ได้ชื่อว่าสละชีวิตเพื่อชาติไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น