การขาดแคลน บุคคลที่เรียกว่า "ครู" ในสังคมไทย ทำให้การสั่งสอนอบรม "ศิษย์" นั้น ไม่สัมฤทธิ์ผล
ทั้งที่รู้ดีแกใจ ว่าปัญหาหลักของการขาดแคลนส่วนสำคัญคือเรื่อง ผลตอบแทน ถามว่าการแก้ไข้ปัญหาเรื่องนี้ยากเกินความสามารถชนชั้นปกครอง หรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ
อีกคำถามคือ ชนชั้นปกครอง สนใจจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้หรือไม่
น่าสนใจตรงที่ถ้าการศึกษาไม่เกิดขึ้น คนก็เปรียบได้กับคนที่ไร้การศึกษา ซึ่งก็ดีเหมือนกัน ปกครองง่ายดีแท้ ส่วนคนที่ดูจะมีสติปัญญาปราดเปรื่องก็ดันถูกล้างสมองให้เรียนแต่การหาเงินเลี้ยงชีพ ไม่ได้ศึกษาหาความจริงกันเลย !
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
[อ่าน] คนเก่าเล่าเรื่อง
การแต่งตั้งอาจารย์นั้น สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด ถ้าพวกผู้รู้จะคงควบคุมกิจการภายในมหาวิทยาลัยไว้ได้ต่อไป แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ท่านพวกนี้มักจะสนใจอยู่แต่ศัพท์แสงทางวิชาการ หาไม่ ก็ไปให้ความสำคัญกับหลักสูตร กับผลได้ในทางลงทุน กับการวางแผนโดยส่วนเฉลี่ยและกับจำนวนนักเรียน ฯลฯ
ทำอย่างไร จึงจะหาได้คนที่เหมาะ มาเป็นเส้นเลือดของชีวิตมหาวิทยาลัย โดยที่คนดังกล่าวจักต้องปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดว่าเป็นคนพิเศษ เป็นผู้รู้ที่มีผลงาน เป็นครูที่เอาใจใส่ และยั่วยุศิษย์ เป็นคนที่คิดได้ลึกซึ้งในทางวิชาการ และคิดฝันเป็นด้วย ประกอบกับเป็นคนใจกว้าง และเป็นคนใจสูงพร้อม ๆกันในตัว แล้วเราจะหาเพชรน้ำหนึ่งเช่นนี้ได้ที่ไหน
เวลาจะต้องเลือก ดูหลักการจะจางหายไป หมอนี่คิดได้ลึกซึ้งไม่ซ้ำแบบใครก็จริงแหล่ แต่ว่าความคิดของเขาฟังขึ้นละหรือ หมอนี่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา แต่ว่าออกจะหยาบคายไปหน่อยละกระมัง เวลาเขาพูด มีคนชอบฟังมากใช่ไหม แต่รู้ได้อย่างไรว่าอ้ายหมอนี่จะไม่ตั้งตัวเป็นผู้นำฝ่ายค้านขึ้นมา คนคนนี้เป็นคนเอาใจยาก เห็นทีเพื่อนอาจารย์จะรับเขาไว้ไม่ได้
ผลก็คือ เลือกคนไม่มีพิษไม่มีภัย ก็เลยได้แต่พวกหางกะทิเป็นอาจารย์
แปลจาก The Dons ของ Noel Annan, หน้า 157 ใน สอดสร้อยมาลา ศิวาลังการ โดย ส.ศิวรักษ์)
เมืองไทยยังเป็นระบบศักดินา ระบบชนชั้น ฉะนั้นผมเป็นชนชั้นที่ได้เปรียบ ผมจึงต้องอยู่ฝ่ายคนที่เสียเปรียบ ถ้าคนที่ได้เปรียบไม่อยู่ข้างคนที่เสียเปรียบ เราไม่รู้ตัวหรอกว่าเราเอาเปรียบเขา เรารังแกคนเล็กคนน้อยโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นมนุษย์เรา ยิ่งใหญ่โตแค่ไหนก็ต้องไปอยู่ฝ่ายคนเสียเปรียบขนาดนั้น โดยเฉพาะคนที่นั่งบัลลังก์ศาล ถ้าศาลไปเห็นคนในคุก ศาลจะเปลี่ยนจุดยืนมาก ผมอยากรู้ว่าศาลคนไหนเข้าไปดูคนในคุกบ้าง
ตอนนี้ก็มีเสียงบ่นมาก ศาลตัดสินตะแบงหลายต่อหลายครั้งเพื่อจะอวดว่าตัวเก่ง อย่าไปอวดว่าเก่งครับ ความเก่งจะเกิดขึ้นจากความอ่อนน้อมถ่อมตัว ความเก่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราแม่นในความยุติธรรม ความเก่งจะเกิดขึ้นเมื่อเรามองกว้าง ๆ อย่าเอาความทุกข์ยากให้คน คริสต์มาส ฮัมฟรีย์ส(Chrismas Humphreys) เป็นคนตั้งพุทธสมาคม ท่านเป็นอัยการมานาน ภายหลังเป็นศาลด้วย ถ้าคดีมาถึงท่าน ท่านจะให้ไปทางเมตตากรุณาเป็นหลัก แสดงว่าเขานับถือพุทธจริงๆ พวกเราหลายคนที่อ้างว่านับถือพุทธ แต่เข้าไม่ถึงพุทธธรรม ถ้าเข้าถึงพุทธธรรม การตัดสินคดีต้องมีการุนยธรรม เมตตาธรรม พร้อมๆ กับความยุติธรรมไม่ใช่เปรี้ยงๆ 5 ปี 10 ปี
John Dryden กวีชาวอังกฤษในยุคการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ (English Restoration)
John Milton กวีชาวอังกฤษ ผู้ประพันธ์มหากาพย์ Paradise Lost
Raphael จิตกรเอกในยุคเรอเนซองส์
Michaelangelo จิตรกรเอกใยยุคเรอเนซองส์
อาจารย์เจตนา(นาควัชระ) เชี่ยวชาญภาษาเยอรมัน เยอรมนีนี่มีกวี มีศิลปิน มีนักรบมากมาย แต่เขาตั้งชื่อว่าสถาบันเกอเธ่ (Goethe) เป็นสถาบันวัฒนธรรมอยู่ทั่วโลกเลย แสดงให้เห็นว่าเขายกย่องกวี ยกย่องนักปราชญ์ แต่ที่อินเดียเขาไม่ได้ตั้งชื่อสถาบันว่า เกอเธ่ แต่ใช้ชื่อของ Max Muller ซึ่งเป็นคนเยอรมันที่แปลงสัญชาติเป็นอังกฤษแต่ผลิตงานด้านภาษาสันสกฤษดี ที่สุดในบรรดาฝรั่งด้วยกัน จนได้รับการยกย่อง อันนี้แหละครับ เยอรมนีมีโอกาสให้คนของเขาเข้าหาความเป็นเลิศได้
T.S. Eliot เป็นชาวอเมริกัน มาอยู่อังกฤษเป็นกวีเบอร์หนึ่งของอังกฤษ สุดท้ายยอมทิ้งงาน เพื่อเป็นบรรณาธิการ
ทำอย่างไร จึงจะหาได้คนที่เหมาะ มาเป็นเส้นเลือดของชีวิตมหาวิทยาลัย โดยที่คนดังกล่าวจักต้องปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดว่าเป็นคนพิเศษ เป็นผู้รู้ที่มีผลงาน เป็นครูที่เอาใจใส่ และยั่วยุศิษย์ เป็นคนที่คิดได้ลึกซึ้งในทางวิชาการ และคิดฝันเป็นด้วย ประกอบกับเป็นคนใจกว้าง และเป็นคนใจสูงพร้อม ๆกันในตัว แล้วเราจะหาเพชรน้ำหนึ่งเช่นนี้ได้ที่ไหน
เวลาจะต้องเลือก ดูหลักการจะจางหายไป หมอนี่คิดได้ลึกซึ้งไม่ซ้ำแบบใครก็จริงแหล่ แต่ว่าความคิดของเขาฟังขึ้นละหรือ หมอนี่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา แต่ว่าออกจะหยาบคายไปหน่อยละกระมัง เวลาเขาพูด มีคนชอบฟังมากใช่ไหม แต่รู้ได้อย่างไรว่าอ้ายหมอนี่จะไม่ตั้งตัวเป็นผู้นำฝ่ายค้านขึ้นมา คนคนนี้เป็นคนเอาใจยาก เห็นทีเพื่อนอาจารย์จะรับเขาไว้ไม่ได้
ผลก็คือ เลือกคนไม่มีพิษไม่มีภัย ก็เลยได้แต่พวกหางกะทิเป็นอาจารย์
แปลจาก The Dons ของ Noel Annan, หน้า 157 ใน สอดสร้อยมาลา ศิวาลังการ โดย ส.ศิวรักษ์)
เมืองไทยยังเป็นระบบศักดินา ระบบชนชั้น ฉะนั้นผมเป็นชนชั้นที่ได้เปรียบ ผมจึงต้องอยู่ฝ่ายคนที่เสียเปรียบ ถ้าคนที่ได้เปรียบไม่อยู่ข้างคนที่เสียเปรียบ เราไม่รู้ตัวหรอกว่าเราเอาเปรียบเขา เรารังแกคนเล็กคนน้อยโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นมนุษย์เรา ยิ่งใหญ่โตแค่ไหนก็ต้องไปอยู่ฝ่ายคนเสียเปรียบขนาดนั้น โดยเฉพาะคนที่นั่งบัลลังก์ศาล ถ้าศาลไปเห็นคนในคุก ศาลจะเปลี่ยนจุดยืนมาก ผมอยากรู้ว่าศาลคนไหนเข้าไปดูคนในคุกบ้าง
ตอนนี้ก็มีเสียงบ่นมาก ศาลตัดสินตะแบงหลายต่อหลายครั้งเพื่อจะอวดว่าตัวเก่ง อย่าไปอวดว่าเก่งครับ ความเก่งจะเกิดขึ้นจากความอ่อนน้อมถ่อมตัว ความเก่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราแม่นในความยุติธรรม ความเก่งจะเกิดขึ้นเมื่อเรามองกว้าง ๆ อย่าเอาความทุกข์ยากให้คน คริสต์มาส ฮัมฟรีย์ส(Chrismas Humphreys) เป็นคนตั้งพุทธสมาคม ท่านเป็นอัยการมานาน ภายหลังเป็นศาลด้วย ถ้าคดีมาถึงท่าน ท่านจะให้ไปทางเมตตากรุณาเป็นหลัก แสดงว่าเขานับถือพุทธจริงๆ พวกเราหลายคนที่อ้างว่านับถือพุทธ แต่เข้าไม่ถึงพุทธธรรม ถ้าเข้าถึงพุทธธรรม การตัดสินคดีต้องมีการุนยธรรม เมตตาธรรม พร้อมๆ กับความยุติธรรมไม่ใช่เปรี้ยงๆ 5 ปี 10 ปี
John Dryden กวีชาวอังกฤษในยุคการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ (English Restoration)
John Milton กวีชาวอังกฤษ ผู้ประพันธ์มหากาพย์ Paradise Lost
Raphael จิตกรเอกในยุคเรอเนซองส์
Michaelangelo จิตรกรเอกใยยุคเรอเนซองส์
อาจารย์เจตนา(นาควัชระ) เชี่ยวชาญภาษาเยอรมัน เยอรมนีนี่มีกวี มีศิลปิน มีนักรบมากมาย แต่เขาตั้งชื่อว่าสถาบันเกอเธ่ (Goethe) เป็นสถาบันวัฒนธรรมอยู่ทั่วโลกเลย แสดงให้เห็นว่าเขายกย่องกวี ยกย่องนักปราชญ์ แต่ที่อินเดียเขาไม่ได้ตั้งชื่อสถาบันว่า เกอเธ่ แต่ใช้ชื่อของ Max Muller ซึ่งเป็นคนเยอรมันที่แปลงสัญชาติเป็นอังกฤษแต่ผลิตงานด้านภาษาสันสกฤษดี ที่สุดในบรรดาฝรั่งด้วยกัน จนได้รับการยกย่อง อันนี้แหละครับ เยอรมนีมีโอกาสให้คนของเขาเข้าหาความเป็นเลิศได้
T.S. Eliot เป็นชาวอเมริกัน มาอยู่อังกฤษเป็นกวีเบอร์หนึ่งของอังกฤษ สุดท้ายยอมทิ้งงาน เพื่อเป็นบรรณาธิการ
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559
[อ่าน] เสฐียรโกเศศ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์
จะหาใครที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงวิชาการของไทย
ยิ่งไปกว่าพระยาอนุมานราชธนเป็นไม่มี
ในหนังสือภาษาอังกฤษที่รวบบทความของท่านนั้น
มีทั้งที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศ และในประเทศนี้ เล่มล่าสุด
Essays on Thai Folklore by Phya Anuman Rajadhon
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานคำนำว่า
ผู้รู้ชาวต่างประเทศที่มาเมืองไทย
ย่อมตรงไปหาท่าน หรือหาไม่ก็ต้องอาศัยงานนิพนธ์ของท่านเป็นหลัก
เรื่อง ชีวิตและพิธีของไทยโบราณ(Life and Rituals of Old Siam) ของ เกตนีย์
ตัวท่านเองได้เขียนตำราให้ราชบัณฑิตยสถานมากเล่ม เช่น
นิรุกติศาสตร์
การศึกษาเรื่องประเพณีไทย
ชีวิตชาวไทยสมัยก่อนปัจจุบัน
ในด้านการเขียนหนังสือ ท่านมีชื่อเสียงในนามปากกาว่า เสฐียรโกเศศ
ควบคู่ไปกับพระสารประเสริฐ(เจ้าของนามปากกา นาคะประทีป)
ได้แปล
หิโตปเทศ ร่วมกัน
กามนิต
ลัทธิของเพื่อน
รวมข้อเขียนจากนักวิชาการทั่วโลกเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านในนามว่า
In Memorian Phya Anuman Rajadhon
ในขณะที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชักชวนให้ไปสอน
นิรุกติศาสตร์นั้น ท่านได้อ่านหนังสือเพิ่ม จนสามารถเขียนออกมาเป็นตำราทางวิชานี้ 2 เล่ม
เมื่อต้องสอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบท่านก็มิได้อาศัยเพียงพื้นความรู้จาก "ลัทธิของเพื่อน"
แต่ก็ได้ศึกษาเพิ่มเติม จนเขียนออกมา เป็น ศาสนาเปรียบเทียบ
ดู พระยาอนุมานราชธนตามทัศนะของคนรู้จัก
ดูหนังสือ ประวัติครู (คุรุสภา)
ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์
ดู พระสารประเสริฐที่ข้าพเจ้ารู้จัก ผู้อ่านจะได้รู้จักเพื่อนรักที่สุดของเสฐียรโกเศศ
ท่านพูดอยู่เสมอว่าในทางวิชาความรู้เรื่องเมืองไทยแล้วในบัดนี้ผู้ที่รู้ลึกซึ้งอย่างมีหลักเกณฑ์ย่อม
ได้แก่ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อย่างไม่มีปัญหา
ในทางไหวพริบสติปัญญาโดยเฉพาะในด้านบัญญัติศัพท์
ท่านยกย่องพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นอเนกปริยาย
หนังสือ ผีสาวเทวดา
มหาตมะคานธี (กรุณา กุศลาสัย แปลอาจเป็นหนังสือเล่มสุดท้าย ที่พระยาอนุมานราชธนเขียนคำนำให้)
พระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้จัก
ดูหนังสือ อุตมสงฆ์ฟาเหียน ของประภาศิริ ว่ามีคำนำของ เสฐียรโกเศศ
หนังสือพระภัทรมุนีที่ข้าพเจ้ารู้จัก ส.ศิวรักษ์
งานปลีกของเสฐียรโกเศศ เช่น ชุด จับโป๊ยล่อหั่น และลัทธิศาสนาของจีน
หนังสือเรื่อง สยามมาตาเทวี ของ เสฐียรโกเศศ
ดู สาส์นสมเด็จ
หนังสือ สรรพสาระ ของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ดูพระประวัติตรัสเล่า ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
หนังสือ ประเพณีเนื่องในการเกิดและการตาย
แล้วจึงขยายเป็น ประเพณีไทย(๔ เล่ม)
หนังสือ เจดีย์
หนังสือ ประวัติกรมศุลกากร
หนังสือ ประเพณีสงกรานต์
หนังสือ ความทรงจำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หนังสือ พระประวัติตรัสเล่า ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
หนังสือ พระประวัติตรัสเล่า ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ดู สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ
ดู จดหมายโต้ตอบระหว่างเสฐียรโกเศศกับ ส.ศิวรักษ์
หนังสือ พระยาอนุมานราชธนตามทัศนะของคนรู้จัก
ชีวประวัติพระยาอนุมานราชธน(ฉบับเก็บความ)
หนังสือ กินหมากในแง่อักษรศาสตร์
หนังสือ พระยาอนุมานราชธนตามทัศนะของคนรู้จัก
ชีวประวัติพระยาอนุมานราชธน(ฉบับเก็บความ)
หนังสือ กินหมากในแง่อักษรศาสตร์
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
รายชื่อหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยน่าควรอ่าน
เป็นงานวิจัย ของ วิทยากร เชียงกูล ซึ่งร่วมกับคณะวิจัยอีก 10 ท่าน ชื่อ
"โครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ"
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก
1. เป็นหนังสือภาษาไทยที่เขียนขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปี พ.ศ.2519ที่จัดป็นหนังสือประเภทคลาสสิค หรือโมเดิร์นคลาสสิค มีค่าควรอ่านได้ทุกยุคสมัย
2. เป็นหนังสือที่มีศิลปะในการเขียนและการใช้ภาษาที่ดี มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากล (ความงาม, ความไพเราะ, ความสะเทือนอารมณ์) และเนื้อหาสาระที่ตีความหมาย, สะท้อนชีวิต และสังคม
3. เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น ได้รับความรู้ ความคิดความอ่าน ความบันเทิงทางศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ ให้ผู้อ่านมีความฉลาดและมีความคิดแบบเสรี หรือมีทัศนคติที่กว้างมากขึ้น เข้าใจชีวิตและสังคมมากขึ้น และช่วยให้ลดการมีอคติในเรื่องเผ่าพันธ์ เพศ ฯลฯ
4. เป็นหนังสือที่มีความโดดเด่น มีอิทธิพลต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่านจำนวนมากในยุคหนึ่ง ที่มีผลสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งของหลักเขตทางประวัติศาสตร์วรรณกรรม คณะผู้วิจัย วิทยากร เชียงกูล, ทวีป วรดิลก, ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา, ดร.ไชยันต์ รัชชกูล, รศ.พรภิรมณ์ เชียงกูล, ธรรมเกียรติ กันอริ, ธัญญา ผลอนันต์, พิทยา ว่องกุล, กมล กมลตระกูล, พรพิไล เลิศวิชา, พิมล เมฆสวัสดิ์ คณะกรรมการชี้ทิศทาง ดร.เจตนา นาควัชระ, คำสิงห์ ศรีนอก, ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล, นิตยา มาศะวิสุทธิ์, อำพล สุวรรณธาดา
|
|
รายชื่อหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยน่าควรอ่าน
ประเภทบันเทิงคดี (FICTION)
ก. กวีนิพนธ์และบทละคร
1. ประชุมโคลงโลกนิติ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
2. เสภาศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง
3. นิราศหนองคาย - หลวงพัฒนพงศ์ภักดี
4. สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต
5. มัทนะพาธา - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. โคลงกลอนของครูเทพ - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
7. บทละครเรื่องพระลอ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
8. ขอบฟ้าขลิบทอง - อุชเชนี
9. เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. - นายผี
10. บทกวีของเปลื้อง วรรณศรี
11. บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ - จิตร ภูมิศักดิ์
12. จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย - ทวีปวร
13. กวีนิพนธ์ - อังคาร กัลยาณพงศ์
14. ขอบกรุง - ราช รังรอง
15. เพียงความเคลื่อนไหว - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ข. นิยาย
16. ละครแห่งชีวิต - ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์
17. กามนิต - เสฐียรโกเศศ, นาคะประทีป
18. ดำรงประเทศ - เวทางค์
19. ผู้ชนะสิบทิศ - ยาขอบ
20. หนึ่งในร้อย - ดอกไม้สด
21. บางระจัน - ไม้ เมืองเดิม
22. หญิงคนชั่ว - ก. สุรางคนางค์
23. พล นิกร กิมหงวน - ป. อินทรปาลิต
24. ปักกิ่ง-นครแห่งความหลัง - สด กูรมะโรหิต
25. เราลิขิต-บทหลุมศพวาสิฏฐี - ร.จันทพิมพะ
26. เมืองนิมิตร - ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์
27. แม่สายสะอื้น - อ. ไชยวรศิลป์
28. พัทยา - ดาวหาง
29. แผ่นดินนี้ของใคร - ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์
30. มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร - แย้ม ประพัฒน์ทอง
31. ปีศาจ - เสนีย์ เสาวพงศ์
32. สี่แผ่นดิน - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
33. ทุ่งมหาราช - มาลัย ชูพินิจ
34. แลไปข้างหน้า - ศรีบูรพา
35. เสเพลบอยชาวไร่ - รงค์ วงษ์สวรรค์
36. จดหมายจากเมืองไทย - โบตั๋น
37. เขาชื่อกานต์ - สุวรรณี สุคนธา
38. สร้างชีวิต - หลวงวิจิตรวาทการ
39. ตะวันตกดิน - กฤษณา อโศกสิน
40. สร้อยทอง - นิมิตร ภูมิถาวร
41. พิราบแดง - สุวัฒน์ วรดิลก
42. ลูกอีสาน - คำพูน บุญทวี
ค. เรื่องสั้น
43. นิทานเวตาล - น.ม.ส.
44. จับตาย : รวมเรื่องเอก - มนัส จรรยงค์
45. เรื่องสั้นของป. บูรณปกรณ์ (ชีวิตจากมุมมืด, ดาวเงิน) - ป. บูรณปกรณ์
46. เสาชิงช้า, เอแลนบารอง และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ ส. ธรรมยศ
47. พลายมลิวัลลิ์ และเรื่องสั้นบางเรื่อง ของถนอม มหาเปารยะ
48. ผู้ดับดวงอาทิตย์ และเรื่องสั้นอื่นๆ - จันตรี ศิริบุญรอด
49. ยุคทมิฬ และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ อิศรา อมันตกุล
50. เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ - อาจินต์ ปัญจพรรค์
51. ฟ้าบ่กั้น - ลาว คำหอม
52. ชุดเพื่อนนักเรียนเก่า "เพื่อนเก่า" - เสนอ อินทรสุขศรี
53. รวมเรื่องสั้นบางเรื่องของฮิวเมอร์ริสต์ - ฮิวเมอร์ริสต์
54. ฉันจึงมาหาความหมาย - วิทยากร เชียงกูล
55. คนบนต้นไม้ - นิคม รายวา
ประเภทสารคดี/บทความ (NON FICTION)
ก. ประวัติศาสตร์
56. ประวัติกฎหมายไทย - ร. แลงกาต์
57. นิทานโบราณคดี - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
58. โฉมหน้าศักดินาไทย - จิตร ภูมิศักดิ์
59. กบฏ ร.ศ. 130 - เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์
60. เจ้าชีวิต - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
61. ศาลไทยในอดีต - ประยุทธ สิทธิพันธ์
62. ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคม - ชัย เรืองศิลป์
63. สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2325 - 2416 - ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์
ข. การเมือง,ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย, เศรษฐศาสตร์
64. ทรัพยศาสตร์ - พระยาสุริยานุวัตร
65. เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 - กุหลาบ สายประดิษฐ์
66. ความเป็นอนิจจังของสังคม - ปรีดี พนมยงค์
67. ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก - เดือน บุนนาค
68. โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร - สนิท เจริญรัฐ
69. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง - ดิเรก ชัยนาม
70. สันติประชาธรรม - ป๋วย อึ๊งภากรณ์
71. ห้าปีปริทัศน์ - ส. ศิวรักษ์
72. "วันมหาปิติ" วารสาร อมธ.ฉบับพิเศษ 14 ตุลาคม 2516 - องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค. ศิลปะ ภาษาและวรรณกรรม วรรณกรรมวิจารณ์
73. วรรณคดี และวรรณคดีวิจารณ์ - วิทย์ ศิวะศิริยานนท์
74. ประติมากรรมไทย - ศิลป พีระศรี
75. วรรณสาส์นสำนึก - สุภา ศิริมานนท์
76. วิทยาวรรณกรรม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
77. ความงามของศิลปไทย - น. ณ ปากน้ำ
78. ภาษากฎหมายไทย - ธานินทร์ กรัยวิเชียร
79. วรรณไวทยากร ชุมนุมบทความทางวิชาการ ฉบับวรรณคดี - เจตนา นาควัชระ และมล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
80. แสงอรุณ 2 - แสงอรุณ รัตกสิกร
ง. สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม
81. พระราชพิธีสิบสองเดือน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
82. สาส์นสมเด็จ - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
83. 30 ชาติในเชียงราย - บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
84. เทียนวรรณ - สงบ สุริยินทร์
85. กาเลหม่านไต - บรรจบ พันธุเมธา
86. นิทานชาวไร่ - น.อ.สวัสดิ์ จันทนี
87. ภารตวิทยา - กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย
88. ฟื้นความหลัง - พระยาอนุมานราชธน
89. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ - จิตร ภูมิศักดิ์
90. อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร - หม่อมศรีพรหมา กฤดากร
91. 80 ปีในชีวิตข้าพเจ้า - กาญจนาคพันธ์
จ. ศาสนา, ปรัชญา
92. พระประวัติตรัสเล่า - สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
93. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน - สุชีพ ปุญญานุภาพ
94. ปัญญาวิวัฒน์ - สมัคร บุราวาศ
95. พุทธธรรม - พระธรรมปิฎก
96. อิทัปปัจจยตา - พุทธทาสภิกขุ
ฉ. ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์
97. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ - เจ้าพระยาทิพากรวงษ์
98. แพทยศาสตร์สงเคราะห์ - คณะกรรมการแพทย์หลวงในรัชกาลที่ 5
99. ธรรมชาตินานาสัตว์ - บุญส่ง เลขะกุล
100. ขบวนการแก้จน - ประยูร จรรยาวงษ์
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559
๔๐๐ คำถาม ประมวลเกร็ดชีวิตและงาน ๑๐๐ ปีชาตกาล ๔ นักเขียนไทย
๔ นักเขียนไทยในที่นี้ หมายถึง
ม.จ.อากาศดำเกิง
ดอกไม้สด
ศรีบูรพา
ไม้ เมืองเดิม
ซึ่งเกิดในปี ๒๔๔๘ ดังนั้นหนึ่งซื้อเล่มนี้จึงตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๘
แต่ผม อ่านในปี ๒๕๕๙
๑๐๐ คำถามเกร็ดชีวิตและงาน
ม.จ.อากาศดำเกิง
ผู้ประพันธ์หนังสือ ละครแห่งชีวิต
นอกจากนี้แล้วยังมี
ผิวเหลืองหรือผิวขาว
วิมานทลาย
เพื่อนร่วมสมัย มี
ดอกไม้สด เจ้าของผลงาน ศัตรูเจ้าหล่อน
ศรีบูรพา เจ้าของผลงาน ปราบพยศ
หนังสือ อากาศดำเกิงสำนึก คือ การนำผิวเหลืองหรือผิวขาว และวิมานทลายมารวมเล่ม
อาจจะกล่าวได้ว่า ละครแห่งชีวิตเป็นต้นแบบนิยายในต่างแดน เรื่องอื่น ๆเช่น
ข้างหลังภาพ ของ ศรีบูรพา
ปักกิ่งนครแห่งความหลัง ของ สด กูรมะโรหิต
ความรักของวัลยา ของ เสนีย์ เสาวพงศ์
ความรักไม่มีพรมแดน ของ วิไล วัชรวัต
ถนนไปสู่ก้อนเมฆ ของ ธัญญา ผลอนันต์
ฯลฯ
ได้มีการเปิดศักราชการวิจารณ์วรรณกรรมกับ
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เจ้าของบทประพันธ์ เกิดวังปารุสก์
ว่ากันว่า ตัวละครใน "ละครแห่งชีวิต" มีตัวตนดังนี้
หนูสำรวย คือ ม.จ.หญิงดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า
ย้ายพร้อม คือ พี่เลี้ยงของ ม.จ.อากาศดำเกิง
เด็กหญิงบุญเฮียง คือ เล็ก เกตุทัต อดีตต้นห้องของ ม.จ.หญิงเริงจิตรแจรง
ม.จ.อากาศดำเกิง พบรัก ม.จ.หญิงสวาสดิ์วัฒโนดม
ซึ่งมีนามแฝงคือ "ดวงดาว"
ม.จ.หญิงสวาสดิ์วัฒโนดม ได้แต่งนวนิยาย
คำอธิษฐานของดวงดาว เป็นเรื่องแรกในปี ๒๔๘๐
ต่อมาแต่งอีกหลายเล่ม อาทิ เคหาสน์สีแดง เชลยศักดิ์ ม่านไฟ
จะมีหนังสือชุดโครงการคัดสรรนวนิยายเล่มเด่น ๆของไทย ในพุทธศตรวรรษที่ ๒๐
มาจัดพิมพ์เป็นฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อสะท้อนภาพพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของเมืองไทย
ในยุคนั้นสู่สายตานักอ่านชาวต่างประเทศ
ตัวอย่างนิยายดังกล่าว อาทิ
ทางเสือ โดย ศิลา โคมฉาย
ละครแห่งชีวิต โดย ม.จ.อากาศดำเกิง
เรื่องของจัน ดารา โดย อุษณา เพลิงธรรม
คำพิพากษา โดย ชาติ กอบจิตติ
พลายมลวัลลิ์ โดย ถนอม มหาเปารยะ
ทะเลและกาลเวลา โดย อัศศิริ ธรรมโชติ
ทุ่งมหาราช โดย เรียมเอง
งู โดย วิมล ไทรนิ่มนวล
เวลาในขวดแก้ว โดย ประภัสสร เสวิกุล
๑๐๐ คำถามเกร็ดชีวิตและงาน
"ดอกไม้สด"
ดอกไม้สด ชอบงานของ M.Dally นักประพันธ์สตรีชาวฝรั่งเศส
งานเขียนเรื่องแรก คือ ดีฝ่อ
นวนิยายเรื่องแรกของ ดอกไม้สด คือ ศัตรูของเจ้าหล่อน
นวนิยายเรื่องแรกที่ทำให้มีชื่อเสียงคือ ความผิดครั้งแรก
นวนิยายที่พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก คือ สามชาย
หนังสือ "ชีวิตและงานของดอกไม้สด" โดย สมภพ จันทรประภา จะเล่าบรรยากาศการทำงานของเธอ
เป็นภรรยา สุกิจ นิมมานเหมินทร์
ซึ่ง สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ได้มีงานเขียนหลายเล่มเช่นกัน อาทิ
รวมเรื่องเขียน
รวมเรื่องพูด
บุพพการีบูชา
ผ่านภิภพลีลา และอื่น ๆ
สีปีในสหรัฐอเมริกาและอื่น ๆ
ฟุดฟิดฟอฟอไฟพูดไทยดีกว่า
ลาก่อนมิสเตอร์ชิปส์ (ผลงานแปลร่วม)
สำหรับเล่มที่สร้างชื่อและรู้จักกันในวงกว้าง คือ คนแซ่หลี เรื่องของคนแซ่อื่น
ว่าพลางทางชมคณานก
กลับมาที่ดอกไม้สด ในยุคหลัง ๆไม่นิยมทยอยพิมพ์ผลงานเป็นตอนๆ แต่จัดเป็นเล่ม อาทิ
สมชาย
ชัยชนะของหลวงนฤบาล
หนึ่งในร้อย
ผู้ดี
อุบัติเหตุ
นี่แหละโลก (อยากให้ชื่อ ทางเตียนทางรก มากกว่า)
นันทวัน
หนังสือ กรรมเก่า
ดอกไม้สด ได้ ยกย่องว่าเป็นขุมวิทยาการใกล้ตัว อุปมาเหมือน Encyclopedia
สมัยนี้ก็คงเหมือน google เคลื่อนที่
คือ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แห่งวังปลายเนิน
และสุกิจ นิมมานเหมินทร์
เรื่องของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แห่งวังปลายเนิน เดี๋ยวผม ค่อยเพิ่มเติมทีหลัง
แต่ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ต้องไปศึกษาอีกมากเลย เนื่องจากเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่เคยอ่านผลงานเลย
จำได้ ว่า ถ้าเป็น งาน อาจารย์สุลักษณ์ อาจารย์ ก็บอกว่า บราเดอร์ที่อัสสัมชันเคยกล่าวไว้ว่า
รุ่นพวกคุณมันใช้ไม่ได้ สู้รุ่นมัซเซอร์ ป๋วยไม่ได้ (อาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์)
อาจารย์สุลักษณ์ เมื่อได้พบกับคุณป๋วย จึงได้ถามว่า สมัยคุณป๋วย บราเดอร์ พูดจาทำนองนี้หรือไม่
อาจารย์ป๋วยบอกว่า รุ่นพวกคุณมันใช่ไม่ได้ สู้พวก ซุ่นกิ๊ด ไม่ได้ (ซุ่นกิ๊ด ในที่นี้คือ สุกิจ นิมมานเหมินทร์)
หนังสือเธอ ชื่อ หนึ่งในร้อย ถูกแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย
ยุนชิโร นิชิโน ผู้แปล คู่กรรมของ ทมยันตีเป็นภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน
นอกจาก นวนิยายแล้ว ยังแต่งเรื่องสั้น บทความ บทวิจารณ์ และบทแปล รวมทั้งสิ้น 20 เรื่อง
ซึ่งได้รวมพิมพ์เป็นสองเล่ม ชื่อ พู่กลิ่น และ บุษบาวรรณ
โดยสรุปแล้วผลงานของ ดอกไม้สด ปัจจุบัน หอสมุดแห่งชาติถือครองลิขสิทธิ์ มีดังนี้
ศัตรูของเจ้าหล่อน
นิจ
นันทวัน
ความผิดครั้งแรก
กรรมเก่า
สามชาย
หนึ่งในร้อย
อุบัติเหตุ
ชัยชนะของหลวงนฤบาล
ผู้ดี
นี่แหละโลก
วรรณกรรมชิ้นสุดท้าย
พู่กลิ่น
บุษบาวรรณ
ซึ่งเรื่องพู่กลิ่น นั้น มีบทความ 14 เรื่องได้แก่
Romance ซ้อนเรื่องจริง, เนื้อคู่, นิด ๆ หน่อย ๆ, นิทานคำกาพย์จากต้นฉบับของฝรั่ง, ยิงสัตว์,
แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม, ศิลปคืออะไร, นางในรูป, อัวรานางสิงห์,
การอ่านจากเรื่อง Mein Kampf ของ Adoft Hitler, 4 ชั่วโมงในรถไฟ, หมองูตายเพราะงู--- หมอฟัน---,
พลเมืองดี, คนใจบุญ
ส่วน บุษบาวรรณ นั้นมี 6 เรื่อง ได้แก่
พฤติการณ์ของผู้รักความเป็นโสด, เมื่อกลับจากดูเรื่อง "วอลแตร์", บุพเพสันนิวาส, ไฟ!,
ดวงจักษุของผู้พิพากษา, 1/500
๑๐๐ คำถามเกร็ดชีวิตและงาน
ศรีบูรพา
ศรีบูรพา เป็นนามปากกาของ กุหลาย สายประดิษฐ์
ผู้เป็นสุภาพบุรุษนักคิด นักเขียน นักมนุษยธรรม นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย
ที่ยูเนสโกประกาศเกียรติยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกในวาระชาตกาล ๑๐๐ ปี
ดู กรุณา กุศลาสัย, รำลึกถึงศรีบูรพา
ดู สุภา ศิริมานนท์, ความทรงจำชีวิต และการต่อสู้ของกุหลาย สายประดิษฐ์
ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, คำปราศรัย ในงานวันนักเขียน ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๕
เรื่อง "แลไปข้างหน้า" บทที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. ๒๕๔๗
ดูเรื่อง "ศรีบูรพาจากมุมมองของศตวรรษที่ ๒๐" โดย ศ.เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ
นิยายมีชื่อ ของ ศรีบูรพา อาทิ
ข้างหลังภาพ
สงครามชีวิต
จนกว่าเราจะพบกันอีก
ดู รัญจวน อินทรกำแหง, สงครามชีวิตของ "ศรีบูรพา", วรรณกรรมวิจารณ์ ตอนที่ ๒
ดู สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ปาฐกถา สุภาพบุรุษ มนุษยภาพ กุหลาบ สายประดิษฐ์
ดู พระไพศาล วิสาโล, ผู้เป็น ศรีของโลก, คือ อิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา,
หนังสือระลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์
ดู ชนิด สายประดิษฐ์, ชีวประวัติโดยสังเขปของ กุหลาบ สายประดิษฐ์, ข้อคิดจากใจ
เรื่องอ่านเล่นที่ "ศรีบูรพา" เขียนเมื่อเรียนชั้น ม.๘ คือ จ้าวหัวใจ
ดู ศักดิชัย บำรุงพงศ์, สุภาพบุรุษ "ศรีบูรพา", ศิลปวัฒนธรรม
นามศรีบูรพา ได้มาจาก คุณบุญเติม(โกศล) โกมลจันทร์ ที่มีนามปากกาว่า ศรีเงินยวงตั้งให้
บทความ "แถลงการ" เป็นบทความแรก ที่ใช้นามปากกาว่า ศรีบูรพา
"ต้องแจวเรือจ้าง" เป็นงานเขียนที่ใช้ชื่อจริง เป็นครั้งแรก
หนังสือ นวนิยาย ขนาดสั้นเรื่อง "เล่นกับไฟ"
งานเขียนเรื่องสงครามชีวิต เป็นสิ่งที่ศรีบูรพาสร้างสรรค์ขึ้น และถือเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่ง
น่าจะได้รูปแบบและเค้าโครงมาจาก Poor people ของ ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้
ดู ผช.ศ. ดร. ตรีศิลป์ บุญขจร, ศรีบูรพา กับ พัฒนากานวนิยายไทย, อิสสรชน คือคนดี คือศรีบูรพา,
หนังสือระลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์
ดู ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, ปริศนาข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา, อ่าน(ไม่)เอาเรื่อง
ดู ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ปริศนา ความรักในข้างหลังภาพ, รุ่งอรุณในนวนิยายไทย
นวนิยายเรื่อง ป่าในชีวิต คือผลงานต่อจาก ข้างหลังภาพ
หนังสือ เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็น 1 ใน 100 หนังสือดีในรอบ 100 ปีที่คนไทยควรอ่าน
หนังสือ บันทึกอิสสรชน ทินกรณ์ของผู้ต้องคุมขัง โดยข้อหาว่ากบฏ
กุหลาย สายประดิษฐ์เขียน ข้าพเจ้าได้เห็นมา
ขณะที่ ศรีบูรพา เขียน จนกว่าเราจะพบกันอีก
ผลงานเด่นอื่น ๆของ ศรีบูรพา คือ
เรื่องสั้นชื่อ คำขานรับ (ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวข้องกับการที่ กศิดิษ ตั้งสำนักพิมพ์ ไม่ขานรับหรือไม่)
บทความ ดูนักศึกษา ม.ธ.ก. ด้วยแว่นขาว
กุหลาย สายประดิษฐ์ ได้มีโอกาส ไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ จนถึงกับกล่าวไว้ว่า
"ถ้าเขามีหนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์สักหนึ่งเล่ม
และมีธรรมเทศนาของท่านสัก 3 เรื่อง คือ
วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม
ภูเขาแห่งพุทธธรรม
เรื่องความสงบ
เพียงหนังสือ 4 เล่มนี้ก็เป็นการเพียงพอที่พุทธศาสนิกชนจะลงมือปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มศรัทธาแล้ว"
สามารถหาอ่านงานของ "ศรีบูรพา" ที่เกี่ยวกับธรรมได้จาก
หนังสือ อุดมธรรม กับผลงานชุดพุทธศาสนา โดย ศรีบูรพา
จดหมายโต้ตอบระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ "ศรีบูรพา"
ข้อเขียนของสุพจน์ ด่านตระกูล ในชื่อ "คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์"
ดู สุพจน์ ด่านตระกูล, รำลึกถึงศรีบูรพา กุหลาบ สายประดิษฐ์,
ดู ไพศาล มาลาพันธุ์, ศรีบูรพา อาชญากรผู้ปล่อยนกพิราบ
งานที่แปล และเขียนในคุกมีดังนี้
แลไปข้างหน้า กับ แม่ภาคแรก ของแม็กซิม กอร์กี้ และบทกวีอาชญากรผู้ปล่อยนกพิราบ
หนังสือเล่มสุดท้ายของสำนักพิมพ์สุภาพบุรุษ คือ หนังสือ "ไปสหภาพโซเวียต"
ศรีบูรพา แปลวานวรรณกรรมไว้ไม่มากชิ้น ที่ค้นพบและรวมเล่มแล้ว เรื่องสั้นมีแค่ 3 เรื่อง
รวมอยู่ในเล่ม "ในยามถูกเนรเทศ" แปลจากเรื่องสั้นของ อันตัน เชคอฟ
และของเมอร์เซ็ท มอห์ม
แต่ถ้าดู "ทินกรณ์ของผู้ต้องคุมขังโดยข้อหาว่าเป็นกบฏ" ก็พบว่า ได้แปล
รีเบคกา, ประวัติ นโปเลียน
ประวัติบุคคลที่แปลมีหลายชิ้น เช่น
"เขาถูกบังคับให้เป็นขุนโจร" แปล และเรียบเรียงจากประวัติการต่อสู้ของ เน็ด เคลลี่
"ชีวิตสอนอะไรแก่สตรีโซชลิสต์ อังกฤษ" เป็นงานรวบรวมแปลชีวประวัติของบุคคลที่น่าสนใจ
และสร้างประโยชน์แก่สังคม มีรวมทั้งหมด 5 คน
เป็นงานแปลร่วม ระหว่าง กุหลาบ สายประดิษฐ์ และจูเลียต โดย
กุหลาบ สายประดิษฐ์แปล 3 ชิ้น คือ
ชีวิตสอนอะไรแก่ข้าพเจ้า เป็น ชีวประวัติของมิสบอนฟิลด์ ผู้นำกรรมกรอังกฤษ
ซุนยัดเซ็น
จิตรกรชาวไร่ ชีวประวัติของจีออตโต
ปรัชญาของลัทธิมาร์กซิสต์
กำเนิดครอบครัวของมนุษยชาติ กล่าวถึงความเป็นมาของมนุษย์ยุดดึกดำบรรพืจนถึงอารยธรรม
โดยใช้หลักทฤษฎีของ Lewis Henry Morgan
ระเบียบสังคมมนุษย์ เป็นหนังสือเรียบเรียงเชิงประวัติสังคมวิทยา
ต่อจากชุด "กำเนิดครอบครัวของมนุษยชาติ"
ดู รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน, ศรีแห่งวรรณกรรมไทย
เรื่องสั้นของ ศรีบูรพาอีก 2 ชุด คือ
ขอแรงหน่อยเถอะ
รวมเรื่องสั้นรับใช้ชีวิต มีนวนิยายอย่างเรื่องลูกผู้ชาย, ปราบพยศ, แสนรักแสนแค้น, มารมนุษย์,
ผจญบาป, สิ่งที่ชีวิตต้องการ, โลกสันนิวาส, หัวใจปรารถนา, อำนาจใจ
ถ้าเลือกได้เล่มเดียวให้อ่าน "ข้อคิดจากใจ" ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์
ศรีเงินยวง ผู้แปล มาดามซองเยน, ทำลายคุกบาสติลล์ ฯลฯ
๑๐๐ คำถามเกร็ดชีวิตและงาน
ไม้ เมืองเดิม
ดู สุวิทย์ ว่องวีระ, ไฟชีวิตของศิลปินไพร่ ชำระประวัติมืดมนของไม้ เมืองเดิม
ดู เหม เวชกร "จากย่ามแห่งความทรงจำของ เหม เวชกร"
ดู วัฒน์ วรรลยางกูร เบื้องหลังของเบื้องหลังบันทึกบรรณาธิการ, คมดาบคันไถ, ไม้ เมืองเดิม
ดู ยศ วัชรเสถียร, มนัส จรรยงค์ และไม้ เมืองเดิม
ดู สุวรรณ เชื้อนิล, การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง "ขุนศึก" ของไม้เมืองเดิม
ดู เหม เวชกร ชีวิต และงานของไม้เมืองเดิม, จากหนังสือศิลปิน ปีที่ ๑ เล่มที่ ๓ กันยายน ๒๔๘๕
หนังสือเรื่อง "ทหารเอกพระบัณฑูร" และ "ขุนศึก"
หนังสือเล่มแรก คือ "เรือโยงเหนือ"
เล่มที่สองคือ "ห้องเช่าเบอร์ ๑๓"
เรื่องต่อมาคือ "ชาววัง"
เล่มต่อมาคือ "แผลเก่า"
ดู เหม เวชกร,จากย่ามความทรงจำ, แด่เหม เวชกร
นิยายเกี่ยวกับชีวิตทะเล "สินในน้ำ"
ผลงานก่อนมาเป็นไม้ เมืองเดิม มีดังนี้
ศึกหน้าหอ ใช้นามปากกา "แมนโดริน"
วาสนาไอ้เอี้ยง ไม่ทราบนามปากกา
เรือโยงเหนือ ไม่ทราบนามปากกา
ห้องเช่าเบอร์ ๑๓ ไม่ทราบนามปากกา
ชาววัง ใช้นามปากกา "กฤษณา พึ่งบุญ"
คนดีศรีอยุธยา ใช้นามปากกา "ฮ.ไพรวัลย์"
ผลงานทั้งหมดในนามปากกา ไม้ เมืองเดิม มีทั้งหมด 43 เรื่อง
แผลเก่า
หนามยอก
หนามบ่ง
แสนแสบ
ชายสามโบสถ์
รอยไถ
เรือเพลง
เรือเร่
ศาลเพียงตา
เกวียนหัก
เสือทุ่ง
หมื่นซ่อง
ล้างบ้าง
ศึกกระทุ่มลาย
กลางเพลิง
วิวาห์ล่ม
สาวชะโงก
เสือข้าม
ข้าเก่า
อ้ายขุนทอง
โป๊ะล่ม
สินในน้ำ
บางระจัน
ทหารเอกพระบัณฑูร
ขุนศึก
นางห้าม
อาสาหกเหล่า
สำเภาล่ม
หาสาพ่าย
ข้าหลวงเดิม
แม่หม้าย
สองศึก
หน้าไถ
เสือบาง
นางถ้ำ
ค่าน้ำนม
บึงขุนสร้าง
กระท่อมปลายนา
จะจากน่าเลิ่ง
คุ้งเผาถ่าน
บ้านนอกเข้ากรุง
คนละถิ่น
ลมตะเภา
นอกจากนี้น่าจะมี หนังสืออื่น ๆอีกเช่น
"ตะวันตกดิน" ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องสุดท้าย และเขียนไม่เสร็จ
การเขียนขุนศึก ไม้ เมืองเดิม ต้อง พงศาวดารสองเล่ม แล้ว ยังต้องศึกษา
เอกสารชั้นต้นของยุคกรุงศรีอยุธยาอีกหลายเล่ม เช่น กฎ มณเฑียรบาล และบทพระอัยการต่าง ๆ
แล้วยังต้องอ่านตำรับพิชัยสงคราม กับตาราขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาด้วย
ดู คำนำเสนอ ไอ้เสมา "ขุนศึก" ของไม้ เมืองเดิม ไพร่ได้ดีเพราะตีเหล็กที่ย่านสำพะนี
แนะนำหนังสือ บัลลังก์แห่งความทุกข์เข็ญ ของ สุมทุม บุญเกื้อ
"เอื้องแซะเมืองนาย" ของ ลพบุรี
"เห่าดง" ของ พนมเทียน
"ลูกรัก-เมียขวัญ" ของ อรวรรณ
นิยายอิงพงศาวดารขุนศึก ของ ไม้ เมืองเดิม ของ ประยุกต์ บุนนาค
ดู จินตนาการของไม้ เมืองเดิม ในนิยายอิงพระราชพงศาวดาร เรื่องขุนศึก
เรื่องเกี่ยวกับช้าง ต้องอ่าน คำฉันท์ดุษฎีสังเวย,
คำฉันท์กล่อมช้างครั้งกรุงเก่า และคำฉันท์คชกรรมประยูร
ดู มนู จรรยงค์, บ้านสนามเป้า แหล่งผลิตวรรณกรรมลูกทุ่ง
ดู ลมูล อติพยัคฆ์, ไม้ เมืองเดิม นักปกครอง(เมีย)ชั้นยอด
วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559
[ดู] New Heart New World โลกเปลี่ยนไปเมื่อใจเปลี่ยนแปลง
ก็ได้ดูไปหลายตอนเหมือนกัน ครับ
แต่ก็ได้มาหยุด ตรงตอนของ
ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
บอกตรง ๆ ตอนเลือกดูเพราะว่าผม ดูตอนของคนอื่นเกือบหมดแล้ว
เหลือแต่ คนที่ผม ไม่รู้จัก หนึ่งในนั้นก็ ดร.วิทย์
แล้วตอนฟังผม ก็ไม่ได้ อินมากนะครับ เพราะว่า แกพูดเรื่องการรู้จักพอ
แต่ว่ากล้อง ถ่ายนาฬิกาแก ซะงั้น ห้า ๆๆ (แซวเฉย ๆนะครับ)
แต่ว่าแกพูดถึงหนังสือ แก่นพุทธศาสน์ ของ พุทธทาส ภิกขุ ซึ่งผม จำได้ว่าผมเคยอ่าน แต่ลืมไปแล้ว
ก็เลยปิด คลิป แล้วไปอ่านหนังสือแทนเลยครับ
ซึ่งหลังจากอ่าน แก่นพุทธศาสน์ จบไปหนึ่งบท สิ่งที่ได้มันต่างจากเมื่อก่อนมากเลยครับ
อาจจะเพราะโตขึ้น หรือใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น ก็ไม่แน่ชัด
แต่ก็อยากจะกลับมา ฟัง ดร.วิทย์ แกพูดอีกครั้ง พร้อม เก็บ คลิป New Heart New Wolrd ใหม่
และผมอยากถอดคำพูดของ ท่าน อาจารย์เขมานันทะ (ไม่เกี่ยวกับ New heart New world เลย)
ซึ่งอาจารย์ เขมานันทะ นี้ผม เคยมีเพื่อนแนะนำหนังสือชุดของแก
ปาฐกถา 6 เล่ม ชุดธรรมะกับชีวิต (2518)
ประกอบด้วยหนังสือ
มิติของชีวิต
ความหมายของชีวิต
เงื่อนไขของชีวิตและสังคม
ชีวิตกับความรัก
อุปมาแห่งชีวิต
ชีวิตกับการเรียนรู้
ไม่ได้เกี่ยวกับ New Heart New World เลยครับ
แล้วผมก็พึ่งจะได้หนังสือ "ลิงจอมโจก" ของอาจารย์เขมานันทะ มาด้วย น่าจะเป็นเล่มต่อไปที่จะอ่านครับ
กลับมาที่ คลิป ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
เราเครียดเกินงานหรือเปล่า
ถึงแม้เราจะประสบความสำเร็จทางทุนนิยม หาเงินได้มากเพียงใด
เราก็มักจะยึดเอาเงินนั้นเป็นที่พึ่งในการสร้างความสุข
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ หรือเอาเงินซื้อประสบการณ์ การไปเที่ยว
แต่ ถ้าเงินนั้นไม่สามารถทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นได้ เราต้องทำอย่างไร
เราต้องกลับมามองสติของเราก่อน เลย
นพ. บัญชา พงษ์พานิช
การที่เรียนมาในสายวิทยาศาสตร์นั้น ทำให้ทุกอย่างจะต้องอธิบายได้
แต่ปัญหาที่เจอคือ การรักษาดุลยภาพของชีวิต ทั้งการทำงาน และการดูแลร่างกาย
เครียดจากการทำงานมาก เพราะเห็นแก่ผู้ป่วย แต่ดันทำให้คนอื่นหมั่นไส้
เมื่อสิ่งที่มันถูกต้องไม่สามารถทำได้ในโลก นี้
อุดมการณ์ มันกินได้ไม่นานนะ
ทำให้ ได้ บวชและเริ่มศึกษาธรรม ที่สวนโมกข์
เพื่อค้นหาว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร เราจะเอามาใช้อย่างไร ใช้ได้หรือไม่
วิทยาศาสตร์ทางจิตที่ลึกซึ้งที่สุด ว่าเราเป็นทุกข์เพราะอะไร
เราจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร
จึงค้นพบว่าจะทำความดีอย่างไร โดยที่เราไม่ต้องทุกข์เหมือนเดิม
ทำดี นั้นดี แต่อย่าไปผูกว่าทำดีแล้วต้องได้ดี
นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร
อันนี้สาย Risk taker ชอบทำอะไรใหม่ ๆ ชอบทดลองอะไรใหม่ ๆ
เพื่อที่จะค้นหาคำตอบของชีวิตว่าชีวิตเราเกิดมาทำไม
ตลอดชีวิตที่เกิดมาในเมือง มีแต่ตึก
จนได้มาเจอสวนโมกข์ ที่มีธรรมชาติมากจึงทำให้มีความสุข
และได้มีโอกาสพบหนังสือท่านพุทธทาส
ซึ่งอ่านแล้ว ไม่รู้เรื่องเลย
จนได้มาเจอหนังสือพุทธธรรม ของ ท่าน ประยุทธ์ ปยุตโต
จนถือได้ว่ารู้ ปริยัติ มากมาย
แต่ไม่เคยปฏิบัติ
จนได้มีโอกาสปฏิบัติ และพบว่า
Psychoneuroimmunology ซึ่ง เป็นการฝึกสติ และการฝึกเมตตา
และเราไม่ควรเดินตามค้นนู้นทีคนนี้ที หากมันไม่ใช่ตัวเรา
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า มนุษย์เราทุกคนไฝ่ดี
ศ.นพ. ประเวศ วะสี
ต่อให้เรียนมาเยอะ เก่งแค่ไหน เวลาทำงานเราก็มีความทุกข์
มันไม่ได้อย่างคาดหวัง เกิด โกรธ เกลียด มันทำให้เสียพลังงาน
จนได้มาเจอพระพุทธศาสนา
ต้องเรียนรู้ศีลธรรม ซึ่งต้องเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้หมู่คณะทำงานไปด้วยกันได้
เอ๊ะ เดี๋ยวนะ ฟัง ๆ ไป มันไปการเมืองแรงไป เดี๋ยวเบรคก่อน มันจะผิดประเด็นไป
แต่ก็ถ้าให้เกี่ยว คือ ทุกคน ทั้งประเทศ ต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่หมู่คณะใด คณะหนึ่ง
อีกครั้ง ทุกคน ทุกคน ทุกคน
พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน ไม่ใช่การสร้างจากยอด
อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ทำในสิ่งที่ชอบ โดยไม่สนใจอย่างอื่น
จะวาดรูปได้เงินหรือไม่ได้ กูก็ทำ
พอเราเรียนรู้ ปรารถนาจะดีกว่าคนอื่น
สร้างแรงกดดันให้ตัวเอง
แล้วเรียนรู้ วิเคราะห์คนอื่น ว่า ไอ่คนที่มันทำได้ดี ทำยังไง
ถ้าคนอื่นรวย ทำไมกูจน
ดังนั้นกูต้องเรียนรู้สิ่งที่กูไม่รู้
เช่นถ้ามึงจะดังระดับประเทศ มึงต้องไปเอาคนเก่งที่สุดมาศึกษา ว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบของมันบ้าง
มึงขาดอะไร คนที่มึงเอาศึกษาขาดอะไร
กูเสียสละก่อน เพื่อคาดหวัง ชื่อเสียงในอนาคต
การจะคิดการใหญ่ ต้องคิดตั้งแต่เด็ก มึงจะมาคิดตอนโดก็ไม่ทันแล้ว
การมีวิสัยทัศน์ แต่เด็กจะทำให้มึงอยาก แล้วมีความมุ่งมั่น
พอมีความมุ่งมั่น มึงจะมีประจุ ซึ่งเอาความตายเป็นที่ตั้ง
ยิ่งมึงบุกมาก มึงยิ่งแก้ปัญหามาก มึงยิ่งแกร่ง มึงยิ่งมีธรรม
ทำเหี้ยอะไรก็ได้ แต่ให้เป็นทางของมึง ของมึงคนเดียว
ธนญชัย ศรศรีวิชัย
เรามีเรื่องที่เรารู้ และถนัด
แต่เราก็ต้องค้นหาเรียนรู้สิ่งที่เรายังไม่รู้
ชีวิตคืออะไร ทำงานแล้วได้รางวัล ทำไปทำไม
ทำไมเราต้องทำงาน ทำไปทำไม
ดีที่สุดของงานคืออะไร
เงินคืออะไร อะไรคือส่ิงที่มีค่ามากกว่าเงิน
เพราะว่าเราอยากมีชีวิตที่ดีที่สุด
ปริยัติอย่างเดียว ไม่พอ แต่มันมีแรงเสียดทานก่อนจะไปปฏิบัติ
แต่ถ้าเริ่มปฏิบัติ ได้จนต่อเนื่องไปจะเริ่ม ปฏิเวช
จะเริ่มสนใจแก่นสาร ของสิ่งต่าง ๆ
เพราะการเข้าใจถึงแก่นสารจะรู้ว่าเราจะต้องทำอะไร เราจะคิด พูดอะไร
เหมือนเวลาเราเห็นฝนตก
ประโยชน์สูงสุดคือให้ต้นไม้ ไม่ใช่ว่ามันทำให้เราเปียก
มนุษย์ที่แท้ คือ คนที่รู้ว่าตนเองทำผิด แล้วแก้ไขมันซะ
วิวัฒน์ ศัลยกำธร
ผมเกิดมาในยุคที่ทุ่งนาอุดมสมบูรณ์ และมันคือทุกอย่าง
เด็กเล่นทุกอย่างในนา การเล่นคือการเรียนรู้
ธรรมชาติมันทำให้เราเรียนรู้การอยู่กับธรรมชาติ
พอเข้ามหาลัยกลับบ้านมาไม่ไหว้พระ ไม่ไหว้พ่อแม่
เราดูถูกกันเลยทีเดียว แต่จะไม่ให้ดูถูกได้ไง
ไหว้พระแม่ธรณี ไร้สาระ จริง ๆ
ทำไมไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้าใช้
แต่พอเราเรียนรู้มากขึ้น อยากพัฒนาชุมชน เลยอาสาเข้าพัฒนาชุมชน
หลังจากยิ่งพัฒนา พบเลย ยิ่งเจ๊ง ยิ่งพัฒนา ยิ่งเจ๊ง
เราเอาแนวพัฒนาของอเมริกามาพัฒนา
ในหลวงฉีกทิ้งหมด เปลี่ยนวิธีคิดใหม่หมด ไม่เอาแบบของนอก
ในหลวงเอาของไทย คิดง่าย ๆใครเป็นคนปลูกข้าวเยอะสุดในโลกหละ
พอเรียนรู้แบบนี้แล้ว เรารักภูมิปัญญาเราไม้ครับ รักเลย เราภูมิใจ ที่เราเกิดมากับครอบครัวแบบนี้
อย่าลืมนะ พัฒนา ตามก้นฝรั่ง ยิ่งพัฒนา ยิ่งพัง ยิ่งเจ๊ง เละเทะ
ทำงานอย่าอ้างความขาดแคลน ให้ทำจนกว่าจะสำเร็จ
ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา ถ้ามีปัญญาและอดทน
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
[อ่าน]อัตชีวประวัติ:ทหารชั่วคราว ป๋วย อึ๊งภากรณ์
อาจารย์ จอน อึ๊งภากรณ์
กล่าวว่าหนังสือของป๋วยที่ เคยอ่าน มี
คุณภาพแห่งชีวิต
ปฏิทินแห่งความหวัง
จารครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
ความรุนแรงของรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
ความเห็นต่อหนังสือเล่มนี้ "หลายอย่างค่อนข้างเหลือเชื่อ เพราะดูเหมือนสังคมไทยสมัยนั้นจะแตกต่างจากสมัยนี้ (ค่อนข้างดีกว่าด้วยซ้ำ)"
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร
กล่าวถึงหนังสือ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์: ชีวิต งาน และความหลัง
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของ ดิเรก ชัยนาม
คนที่จะรู้เรื่อง เสรีไทย ที่ดีอีกคน คือ ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์
ซึ่งเป็นบุคคลที่ ปรีดี พนมยงค์ ไว้ใจที่สุดคนนึง
ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
หนังสือ โมฆสงคราม ของ ปรีดีพนมยงค์ได้กล่าวถึง ป๋วย ไว้
อัตชีวประวัติ:เหลียวหลัง แลหน้า
ซึ่งในเหลียวหลังแลหน้านั้น อาจารย์ป๋วยได้เขียนเล่าไว้ส่วนหนึ่งว่า
" เมื่อเรียนจบปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษแล้ว กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ เกิดสงครามโลกในทวีปเอเซีย ผมกับเพื่อน ๆ จึงตัดสินใจรับใช้ชาติด้วยการสมัครเข้าเป็นเสรีไทย และได้สมัครเป็นทหาร เข้ามาติดต่อกับเสรีไทยในเมืองไทยเป็นรุ่นแรกด้วยเรือใต้น้ำ และด้วยการโดดร่มชูชีพจากเครื่องบิน ได้รู้ถึงวินาทีที่จะตายหรือจะเป็น ได้ฝ่าอันตรายมิใช่น้อย... แต่ก็เดชะบุญได้รอดชีวิตไปได้โดยสวัสดิภาพ และยังเป็นคนหนึ่งที่ช่วยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากการเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงคราม ฉะนั้นเมื่อเหลียวหลังกลับไปคิดถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น คงจะปรากฎเป็นหลักฐานแน่นอนว่า มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีไม่น้อยกว่าใคร
ได้แสดงออกมาด้วยการกระทำจริง ๆ ไม่เพียงแต่ด้วยคำพูดพล่อย ๆ ของคนที่อ้างสามสถาบันนี้อยู่เสมอโดยไม่เคยกระทำ"
กษิดิศ อนันทนาธร
ได้ชี้แจงไว้ว่า
หนังสืออัตชีวประวัติของป๋วย มี ๒ เล่มคือ
ทหารชั่วคราว
และ
เหลียวหลัง แลหน้า
หนังสือรวมคำไว้อาลัย และคำนำของ ป๋วย อีก ๑ เล่ม คือ
คนที่ผมรู้จัก
หนังสือรวมข้อเขียน และคำพูด ในด้านต่าง ๆ ของป๋วยอีก ๔ เล่ม
ทัศนะทางการเมือง
ทัศนะทางการศึกษา
ทัศนะทางเศรษฐกิจ
ทัศนะทางการพัฒนาและจริยธรรม
นอกจากนี้ยังมีบทความอื่นของท่านที่เกี่ยวเนื่องกับขบวนการเสรีไทย นั่นคือ
* อยู่ท้ายเล่ม
มุสาวาทาเวรมณี(๒๔๙๕)
ปูเลา(๒๕๑๓)
พระบรมวงศานุวงศ์ และขบวนการเสรีไทย(๒๕๑๔)
หนังสือ
กบฏกูชาติ ของ ทศ พันธุมเสน
หนังสือ
ใต้ร่มฉัตร หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธ์ุ ของ นรุตม์
หนังสือ
พระเจ้าช้างเผือก ของ ปรีดี พนมยงค์
ทหารชั่วคราว
หนังสือ ศิลปินไทยในยุโรป ของ บุญพบ ภมรสิงห์
พระบรมวงศานุวงศ์และขบวนการเสรีไทย
หนังสือบางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
หนังสือ
เพื่อชาติ เพื่อ Humanity ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัดพลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร
// พอมาถึงตรงนี้ ผม รู้สึกเลยว่า ยิ่งอ่านเยอะขึ้นเราจะพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หรือ เรื่องราวของผู้ที่ทำเพื่อประเทศชาติ ผู้ที่เสียสละ แลความสัมพันธ์ของเขาเหล่านั้น
ทีนี้ การที่ ผมเป็นคนไทย การใช้เวลา เพื่ออ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น
ในบางช่วงเวลาก็รู้สึก ทึ่ง และ รู้สึกสนใจในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ไม่เคยได้อ่าน
ในบางช่วงเวลาก็รู้สึก ภูมิใจ บางเวลาก็เศร้าใจ
ทีนี้ ผม ก็มานั่งคิดดูว่า หลักฐานดังกล่าว หรือว่า คนดังกล่าว หาได้มีเพียงคนเดียวไม่
อีกทั้ง ในโลกนี้ก็ไม่ได้มีประเทศไทย เพียงประเทศเดียว
หากแต่ละประเทศ มีคน ดี ๆ เหล่านี้อยู่ แต่ละยุคแต่ละสมัย อยู่มากมาย
หากผมอ่าน เรื่องราวคนไทยแล้วมีอารมณ์ร่วมตามส่วนหนึ่งเพราะว่าผม ถูกปลูกฝังความเป็นไทยมา
หากผมมองว่าผมเป็นประชากรโลก ผมก็คงต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับ ประวัติของทุกคนที่เขียนขึ้น
อย่างไม่มีการกีดกันแบ่งแยกชนชาติ
ยิ่งคิดก็ยิ่งไม่เข้าใจ ว่าทั้งหมด นั้น เราจะศึกษาไปทำไม มันใช่สาระสำคัญของชีวิตอย่างไร
//
การที่เสรีไทย โดยเฉพาะหัวหน้าเสรีไทยได้แสดงความจงรักภักดี
ต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ถวายความอารักขาให้พันภัยสงครามนั้น
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี
และเมื่อสิ้นสงครามได้รับสั่งเรียกนายปรีดี พนมยงค์ ไปที่ประทับและขอบใจ
ซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง
อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความของ ม.จ. อัปภัศราภา เทวกุล
เรื่อง "การถวายความปลอดภัยแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
และพระบรมวงศานุวงศ์ ในระหว่างสงคราม" ใน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)