ก็ได้ดูไปหลายตอนเหมือนกัน ครับ
แต่ก็ได้มาหยุด ตรงตอนของ
ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
บอกตรง ๆ ตอนเลือกดูเพราะว่าผม ดูตอนของคนอื่นเกือบหมดแล้ว
เหลือแต่ คนที่ผม ไม่รู้จัก หนึ่งในนั้นก็ ดร.วิทย์
แล้วตอนฟังผม ก็ไม่ได้ อินมากนะครับ เพราะว่า แกพูดเรื่องการรู้จักพอ
แต่ว่ากล้อง ถ่ายนาฬิกาแก ซะงั้น ห้า ๆๆ (แซวเฉย ๆนะครับ)
แต่ว่าแกพูดถึงหนังสือ แก่นพุทธศาสน์ ของ พุทธทาส ภิกขุ ซึ่งผม จำได้ว่าผมเคยอ่าน แต่ลืมไปแล้ว
ก็เลยปิด คลิป แล้วไปอ่านหนังสือแทนเลยครับ
ซึ่งหลังจากอ่าน แก่นพุทธศาสน์ จบไปหนึ่งบท สิ่งที่ได้มันต่างจากเมื่อก่อนมากเลยครับ
อาจจะเพราะโตขึ้น หรือใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น ก็ไม่แน่ชัด
แต่ก็อยากจะกลับมา ฟัง ดร.วิทย์ แกพูดอีกครั้ง พร้อม เก็บ คลิป New Heart New Wolrd ใหม่
และผมอยากถอดคำพูดของ ท่าน อาจารย์เขมานันทะ (ไม่เกี่ยวกับ New heart New world เลย)
ซึ่งอาจารย์ เขมานันทะ นี้ผม เคยมีเพื่อนแนะนำหนังสือชุดของแก
ปาฐกถา 6 เล่ม ชุดธรรมะกับชีวิต (2518)
ประกอบด้วยหนังสือ
มิติของชีวิต
ความหมายของชีวิต
เงื่อนไขของชีวิตและสังคม
ชีวิตกับความรัก
อุปมาแห่งชีวิต
ชีวิตกับการเรียนรู้
ไม่ได้เกี่ยวกับ New Heart New World เลยครับ
แล้วผมก็พึ่งจะได้หนังสือ "ลิงจอมโจก" ของอาจารย์เขมานันทะ มาด้วย น่าจะเป็นเล่มต่อไปที่จะอ่านครับ
กลับมาที่ คลิป ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
เราเครียดเกินงานหรือเปล่า
ถึงแม้เราจะประสบความสำเร็จทางทุนนิยม หาเงินได้มากเพียงใด
เราก็มักจะยึดเอาเงินนั้นเป็นที่พึ่งในการสร้างความสุข
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ หรือเอาเงินซื้อประสบการณ์ การไปเที่ยว
แต่ ถ้าเงินนั้นไม่สามารถทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นได้ เราต้องทำอย่างไร
เราต้องกลับมามองสติของเราก่อน เลย
นพ. บัญชา พงษ์พานิช
การที่เรียนมาในสายวิทยาศาสตร์นั้น ทำให้ทุกอย่างจะต้องอธิบายได้
แต่ปัญหาที่เจอคือ การรักษาดุลยภาพของชีวิต ทั้งการทำงาน และการดูแลร่างกาย
เครียดจากการทำงานมาก เพราะเห็นแก่ผู้ป่วย แต่ดันทำให้คนอื่นหมั่นไส้
เมื่อสิ่งที่มันถูกต้องไม่สามารถทำได้ในโลก นี้
อุดมการณ์ มันกินได้ไม่นานนะ
ทำให้ ได้ บวชและเริ่มศึกษาธรรม ที่สวนโมกข์
เพื่อค้นหาว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร เราจะเอามาใช้อย่างไร ใช้ได้หรือไม่
วิทยาศาสตร์ทางจิตที่ลึกซึ้งที่สุด ว่าเราเป็นทุกข์เพราะอะไร
เราจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร
จึงค้นพบว่าจะทำความดีอย่างไร โดยที่เราไม่ต้องทุกข์เหมือนเดิม
ทำดี นั้นดี แต่อย่าไปผูกว่าทำดีแล้วต้องได้ดี
นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร
อันนี้สาย Risk taker ชอบทำอะไรใหม่ ๆ ชอบทดลองอะไรใหม่ ๆ
เพื่อที่จะค้นหาคำตอบของชีวิตว่าชีวิตเราเกิดมาทำไม
ตลอดชีวิตที่เกิดมาในเมือง มีแต่ตึก
จนได้มาเจอสวนโมกข์ ที่มีธรรมชาติมากจึงทำให้มีความสุข
และได้มีโอกาสพบหนังสือท่านพุทธทาส
ซึ่งอ่านแล้ว ไม่รู้เรื่องเลย
จนได้มาเจอหนังสือพุทธธรรม ของ ท่าน ประยุทธ์ ปยุตโต
จนถือได้ว่ารู้ ปริยัติ มากมาย
แต่ไม่เคยปฏิบัติ
จนได้มีโอกาสปฏิบัติ และพบว่า
Psychoneuroimmunology ซึ่ง เป็นการฝึกสติ และการฝึกเมตตา
และเราไม่ควรเดินตามค้นนู้นทีคนนี้ที หากมันไม่ใช่ตัวเรา
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า มนุษย์เราทุกคนไฝ่ดี
ศ.นพ. ประเวศ วะสี
ต่อให้เรียนมาเยอะ เก่งแค่ไหน เวลาทำงานเราก็มีความทุกข์
มันไม่ได้อย่างคาดหวัง เกิด โกรธ เกลียด มันทำให้เสียพลังงาน
จนได้มาเจอพระพุทธศาสนา
ต้องเรียนรู้ศีลธรรม ซึ่งต้องเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้หมู่คณะทำงานไปด้วยกันได้
เอ๊ะ เดี๋ยวนะ ฟัง ๆ ไป มันไปการเมืองแรงไป เดี๋ยวเบรคก่อน มันจะผิดประเด็นไป
แต่ก็ถ้าให้เกี่ยว คือ ทุกคน ทั้งประเทศ ต้องมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่หมู่คณะใด คณะหนึ่ง
อีกครั้ง ทุกคน ทุกคน ทุกคน
พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน ไม่ใช่การสร้างจากยอด
อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ทำในสิ่งที่ชอบ โดยไม่สนใจอย่างอื่น
จะวาดรูปได้เงินหรือไม่ได้ กูก็ทำ
พอเราเรียนรู้ ปรารถนาจะดีกว่าคนอื่น
สร้างแรงกดดันให้ตัวเอง
แล้วเรียนรู้ วิเคราะห์คนอื่น ว่า ไอ่คนที่มันทำได้ดี ทำยังไง
ถ้าคนอื่นรวย ทำไมกูจน
ดังนั้นกูต้องเรียนรู้สิ่งที่กูไม่รู้
เช่นถ้ามึงจะดังระดับประเทศ มึงต้องไปเอาคนเก่งที่สุดมาศึกษา ว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบของมันบ้าง
มึงขาดอะไร คนที่มึงเอาศึกษาขาดอะไร
กูเสียสละก่อน เพื่อคาดหวัง ชื่อเสียงในอนาคต
การจะคิดการใหญ่ ต้องคิดตั้งแต่เด็ก มึงจะมาคิดตอนโดก็ไม่ทันแล้ว
การมีวิสัยทัศน์ แต่เด็กจะทำให้มึงอยาก แล้วมีความมุ่งมั่น
พอมีความมุ่งมั่น มึงจะมีประจุ ซึ่งเอาความตายเป็นที่ตั้ง
ยิ่งมึงบุกมาก มึงยิ่งแก้ปัญหามาก มึงยิ่งแกร่ง มึงยิ่งมีธรรม
ทำเหี้ยอะไรก็ได้ แต่ให้เป็นทางของมึง ของมึงคนเดียว
ธนญชัย ศรศรีวิชัย
เรามีเรื่องที่เรารู้ และถนัด
แต่เราก็ต้องค้นหาเรียนรู้สิ่งที่เรายังไม่รู้
ชีวิตคืออะไร ทำงานแล้วได้รางวัล ทำไปทำไม
ทำไมเราต้องทำงาน ทำไปทำไม
ดีที่สุดของงานคืออะไร
เงินคืออะไร อะไรคือส่ิงที่มีค่ามากกว่าเงิน
เพราะว่าเราอยากมีชีวิตที่ดีที่สุด
ปริยัติอย่างเดียว ไม่พอ แต่มันมีแรงเสียดทานก่อนจะไปปฏิบัติ
แต่ถ้าเริ่มปฏิบัติ ได้จนต่อเนื่องไปจะเริ่ม ปฏิเวช
จะเริ่มสนใจแก่นสาร ของสิ่งต่าง ๆ
เพราะการเข้าใจถึงแก่นสารจะรู้ว่าเราจะต้องทำอะไร เราจะคิด พูดอะไร
เหมือนเวลาเราเห็นฝนตก
ประโยชน์สูงสุดคือให้ต้นไม้ ไม่ใช่ว่ามันทำให้เราเปียก
มนุษย์ที่แท้ คือ คนที่รู้ว่าตนเองทำผิด แล้วแก้ไขมันซะ
วิวัฒน์ ศัลยกำธร
ผมเกิดมาในยุคที่ทุ่งนาอุดมสมบูรณ์ และมันคือทุกอย่าง
เด็กเล่นทุกอย่างในนา การเล่นคือการเรียนรู้
ธรรมชาติมันทำให้เราเรียนรู้การอยู่กับธรรมชาติ
พอเข้ามหาลัยกลับบ้านมาไม่ไหว้พระ ไม่ไหว้พ่อแม่
เราดูถูกกันเลยทีเดียว แต่จะไม่ให้ดูถูกได้ไง
ไหว้พระแม่ธรณี ไร้สาระ จริง ๆ
ทำไมไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้าใช้
แต่พอเราเรียนรู้มากขึ้น อยากพัฒนาชุมชน เลยอาสาเข้าพัฒนาชุมชน
หลังจากยิ่งพัฒนา พบเลย ยิ่งเจ๊ง ยิ่งพัฒนา ยิ่งเจ๊ง
เราเอาแนวพัฒนาของอเมริกามาพัฒนา
ในหลวงฉีกทิ้งหมด เปลี่ยนวิธีคิดใหม่หมด ไม่เอาแบบของนอก
ในหลวงเอาของไทย คิดง่าย ๆใครเป็นคนปลูกข้าวเยอะสุดในโลกหละ
พอเรียนรู้แบบนี้แล้ว เรารักภูมิปัญญาเราไม้ครับ รักเลย เราภูมิใจ ที่เราเกิดมากับครอบครัวแบบนี้
อย่าลืมนะ พัฒนา ตามก้นฝรั่ง ยิ่งพัฒนา ยิ่งพัง ยิ่งเจ๊ง เละเทะ
ทำงานอย่าอ้างความขาดแคลน ให้ทำจนกว่าจะสำเร็จ
ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา ถ้ามีปัญญาและอดทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น