วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

[อ่าน]อัตชีวประวัติ:ทหารชั่วคราว ป๋วย อึ๊งภากรณ์



อาจารย์ จอน อึ๊งภากรณ์  

กล่าวว่าหนังสือของป๋วยที่ เคยอ่าน มี

คุณภาพแห่งชีวิต

ปฏิทินแห่งความหวัง

จารครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน


ความรุนแรงของรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

ความเห็นต่อหนังสือเล่มนี้ "หลายอย่างค่อนข้างเหลือเชื่อ เพราะดูเหมือนสังคมไทยสมัยนั้นจะแตกต่างจากสมัยนี้ (ค่อนข้างดีกว่าด้วยซ้ำ)"




ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร

กล่าวถึงหนังสือ

ป๋วย อึ๊งภากรณ์: ชีวิต งาน และความหลัง

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของ ดิเรก ชัยนาม

คนที่จะรู้เรื่อง เสรีไทย ที่ดีอีกคน คือ ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์​ 

ซึ่งเป็นบุคคลที่ ปรีดี พนมยงค์ ไว้ใจที่สุดคนนึง





ศาสตราจารย์  ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์

หนังสือ โมฆสงคราม  ของ ปรีดีพนมยงค์​ได้กล่าวถึง ป๋วย ไว้

อัตชีวประวัติ:เหลียวหลัง แลหน้า

ซึ่งในเหลียวหลังแลหน้านั้น อาจารย์ป๋วยได้เขียนเล่าไว้ส่วนหนึ่งว่า

    " เมื่อเรียนจบปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษแล้ว กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ เกิดสงครามโลกในทวีปเอเซีย ผมกับเพื่อน ๆ จึงตัดสินใจรับใช้ชาติด้วยการสมัครเข้าเป็นเสรีไทย และได้สมัครเป็นทหาร เข้ามาติดต่อกับเสรีไทยในเมืองไทยเป็นรุ่นแรกด้วยเรือใต้น้ำ และด้วยการโดดร่มชูชีพจากเครื่องบิน ได้รู้ถึงวินาทีที่จะตายหรือจะเป็น ได้ฝ่าอันตรายมิใช่น้อย... แต่ก็เดชะบุญได้รอดชีวิตไปได้โดยสวัสดิภาพ และยังเป็นคนหนึ่งที่ช่วยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากการเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงคราม ฉะนั้นเมื่อเหลียวหลังกลับไปคิดถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น คงจะปรากฎเป็นหลักฐานแน่นอนว่า มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีไม่น้อยกว่าใคร 
     ได้แสดงออกมาด้วยการกระทำจริง ๆ ไม่เพียงแต่ด้วยคำพูดพล่อย ๆ ของคนที่อ้างสามสถาบันนี้อยู่เสมอโดยไม่เคยกระทำ"




กษิดิศ อนันทนาธร

ได้ชี้แจงไว้ว่า

หนังสืออัตชีวประวัติของป๋วย มี ๒ เล่มคือ

ทหารชั่วคราว

และ 

เหลียวหลัง แลหน้า

หนังสือรวมคำไว้อาลัย และคำนำของ ป๋วย อีก ๑ เล่ม คือ

คนที่ผมรู้จัก

หนังสือรวมข้อเขียน และคำพูด ในด้านต่าง ๆ ของป๋วยอีก ๔ เล่ม

ทัศนะทางการเมือง

ทัศนะทางการศึกษา

ทัศนะทางเศรษฐกิจ

ทัศนะทางการพัฒนาและจริยธรรม


นอกจากนี้ยังมีบทความอื่นของท่านที่เกี่ยวเนื่องกับขบวนการเสรีไทย นั่นคือ

* อยู่ท้ายเล่ม

มุสาวาทาเวรมณี(๒๔๙๕)

ปูเลา(๒๕๑๓)

พระบรมวงศานุวงศ์ และขบวนการเสรีไทย(๒๕๑๔)

หนังสือ

กบฏกูชาติ  ของ ทศ พันธุมเสน

หนังสือ

ใต้ร่มฉัตร หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธ์ุ ของ นรุตม์

หนังสือ 

พระเจ้าช้างเผือก ของ ปรีดี พนมยงค์




ทหารชั่วคราว

หนังสือ ศิลปินไทยในยุโรป ของ บุญพบ ภมรสิงห์




พระบรมวงศานุวงศ์และขบวนการเสรีไทย


หนังสือบางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒


หนังสือ 

เพื่อชาติ เพื่อ Humanity ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัดพลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร


// พอมาถึงตรงนี้ ผม รู้สึกเลยว่า ยิ่งอ่านเยอะขึ้นเราจะพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

หรือ เรื่องราวของผู้ที่ทำเพื่อประเทศชาติ ผู้ที่เสียสละ แลความสัมพันธ์ของเขาเหล่านั้น 

ทีนี้ การที่ ผมเป็นคนไทย การใช้เวลา เพื่ออ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น

ในบางช่วงเวลาก็รู้สึก ทึ่ง และ รู้สึกสนใจในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ไม่เคยได้อ่าน

ในบางช่วงเวลาก็รู้สึก ภูมิใจ บางเวลาก็เศร้าใจ

ทีนี้ ผม ก็มานั่งคิดดูว่า หลักฐานดังกล่าว หรือว่า คนดังกล่าว หาได้มีเพียงคนเดียวไม่

อีกทั้ง ในโลกนี้ก็ไม่ได้มีประเทศไทย เพียงประเทศเดียว

หากแต่ละประเทศ มีคน ดี ๆ เหล่านี้อยู่ แต่ละยุคแต่ละสมัย อยู่มากมาย

หากผมอ่าน เรื่องราวคนไทยแล้วมีอารมณ์ร่วมตามส่วนหนึ่งเพราะว่าผม ถูกปลูกฝังความเป็นไทยมา

หากผมมองว่าผมเป็นประชากรโลก ผมก็คงต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับ ประวัติของทุกคนที่เขียนขึ้น

อย่างไม่มีการกีดกันแบ่งแยกชนชาติ  

ยิ่งคิดก็ยิ่งไม่เข้าใจ ว่าทั้งหมด นั้น เราจะศึกษาไปทำไม มันใช่สาระสำคัญของชีวิตอย่างไร

//




การที่เสรีไทย โดยเฉพาะหัวหน้าเสรีไทยได้แสดงความจงรักภักดี

ต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ถวายความอารักขาให้พันภัยสงครามนั้น 

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้ทรงซาบซึ้งพระทัยดี 

และเมื่อสิ้นสงครามได้รับสั่งเรียกนายปรีดี พนมยงค์ ไปที่ประทับและขอบใจ

ซึ่งคณะเสรีไทยถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง

อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความของ ม.จ. อัปภัศราภา เทวกุล 

เรื่อง "การถวายความปลอดภัยแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

และพระบรมวงศานุวงศ์ ในระหว่างสงคราม" ใน 

สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น