เป็นงานวิจัย ของ วิทยากร เชียงกูล ซึ่งร่วมกับคณะวิจัยอีก 10 ท่าน ชื่อ
"โครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ"
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก
1. เป็นหนังสือภาษาไทยที่เขียนขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปี พ.ศ.2519ที่จัดป็นหนังสือประเภทคลาสสิค หรือโมเดิร์นคลาสสิค มีค่าควรอ่านได้ทุกยุคสมัย
2. เป็นหนังสือที่มีศิลปะในการเขียนและการใช้ภาษาที่ดี มีคุณค่าทางศิลปวรรณกรรม ครบถ้วนตามแนวทางของวรรณกรรมโลกหรือวรรณกรรมสากล (ความงาม, ความไพเราะ, ความสะเทือนอารมณ์) และเนื้อหาสาระที่ตีความหมาย, สะท้อนชีวิต และสังคม
3. เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้อ่านมีทัศนะต่อชีวิตและต่อโลกกว้างขึ้น ได้รับความรู้ ความคิดความอ่าน ความบันเทิงทางศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ ให้ผู้อ่านมีความฉลาดและมีความคิดแบบเสรี หรือมีทัศนคติที่กว้างมากขึ้น เข้าใจชีวิตและสังคมมากขึ้น และช่วยให้ลดการมีอคติในเรื่องเผ่าพันธ์ เพศ ฯลฯ
4. เป็นหนังสือที่มีความโดดเด่น มีอิทธิพลต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่านจำนวนมากในยุคหนึ่ง ที่มีผลสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งของหลักเขตทางประวัติศาสตร์วรรณกรรม คณะผู้วิจัย วิทยากร เชียงกูล, ทวีป วรดิลก, ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา, ดร.ไชยันต์ รัชชกูล, รศ.พรภิรมณ์ เชียงกูล, ธรรมเกียรติ กันอริ, ธัญญา ผลอนันต์, พิทยา ว่องกุล, กมล กมลตระกูล, พรพิไล เลิศวิชา, พิมล เมฆสวัสดิ์ คณะกรรมการชี้ทิศทาง ดร.เจตนา นาควัชระ, คำสิงห์ ศรีนอก, ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล, นิตยา มาศะวิสุทธิ์, อำพล สุวรรณธาดา
|
|
รายชื่อหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยน่าควรอ่าน
ประเภทบันเทิงคดี (FICTION)
ก. กวีนิพนธ์และบทละคร
1. ประชุมโคลงโลกนิติ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
2. เสภาศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง
3. นิราศหนองคาย - หลวงพัฒนพงศ์ภักดี
4. สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต
5. มัทนะพาธา - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. โคลงกลอนของครูเทพ - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
7. บทละครเรื่องพระลอ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
8. ขอบฟ้าขลิบทอง - อุชเชนี
9. เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. - นายผี
10. บทกวีของเปลื้อง วรรณศรี
11. บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ - จิตร ภูมิศักดิ์
12. จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย - ทวีปวร
13. กวีนิพนธ์ - อังคาร กัลยาณพงศ์
14. ขอบกรุง - ราช รังรอง
15. เพียงความเคลื่อนไหว - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ข. นิยาย
16. ละครแห่งชีวิต - ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์
17. กามนิต - เสฐียรโกเศศ, นาคะประทีป
18. ดำรงประเทศ - เวทางค์
19. ผู้ชนะสิบทิศ - ยาขอบ
20. หนึ่งในร้อย - ดอกไม้สด
21. บางระจัน - ไม้ เมืองเดิม
22. หญิงคนชั่ว - ก. สุรางคนางค์
23. พล นิกร กิมหงวน - ป. อินทรปาลิต
24. ปักกิ่ง-นครแห่งความหลัง - สด กูรมะโรหิต
25. เราลิขิต-บทหลุมศพวาสิฏฐี - ร.จันทพิมพะ
26. เมืองนิมิตร - ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์
27. แม่สายสะอื้น - อ. ไชยวรศิลป์
28. พัทยา - ดาวหาง
29. แผ่นดินนี้ของใคร - ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์
30. มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร - แย้ม ประพัฒน์ทอง
31. ปีศาจ - เสนีย์ เสาวพงศ์
32. สี่แผ่นดิน - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
33. ทุ่งมหาราช - มาลัย ชูพินิจ
34. แลไปข้างหน้า - ศรีบูรพา
35. เสเพลบอยชาวไร่ - รงค์ วงษ์สวรรค์
36. จดหมายจากเมืองไทย - โบตั๋น
37. เขาชื่อกานต์ - สุวรรณี สุคนธา
38. สร้างชีวิต - หลวงวิจิตรวาทการ
39. ตะวันตกดิน - กฤษณา อโศกสิน
40. สร้อยทอง - นิมิตร ภูมิถาวร
41. พิราบแดง - สุวัฒน์ วรดิลก
42. ลูกอีสาน - คำพูน บุญทวี
ค. เรื่องสั้น
43. นิทานเวตาล - น.ม.ส.
44. จับตาย : รวมเรื่องเอก - มนัส จรรยงค์
45. เรื่องสั้นของป. บูรณปกรณ์ (ชีวิตจากมุมมืด, ดาวเงิน) - ป. บูรณปกรณ์
46. เสาชิงช้า, เอแลนบารอง และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ ส. ธรรมยศ
47. พลายมลิวัลลิ์ และเรื่องสั้นบางเรื่อง ของถนอม มหาเปารยะ
48. ผู้ดับดวงอาทิตย์ และเรื่องสั้นอื่นๆ - จันตรี ศิริบุญรอด
49. ยุคทมิฬ และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ อิศรา อมันตกุล
50. เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ - อาจินต์ ปัญจพรรค์
51. ฟ้าบ่กั้น - ลาว คำหอม
52. ชุดเพื่อนนักเรียนเก่า "เพื่อนเก่า" - เสนอ อินทรสุขศรี
53. รวมเรื่องสั้นบางเรื่องของฮิวเมอร์ริสต์ - ฮิวเมอร์ริสต์
54. ฉันจึงมาหาความหมาย - วิทยากร เชียงกูล
55. คนบนต้นไม้ - นิคม รายวา
ประเภทสารคดี/บทความ (NON FICTION)
ก. ประวัติศาสตร์
56. ประวัติกฎหมายไทย - ร. แลงกาต์
57. นิทานโบราณคดี - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
58. โฉมหน้าศักดินาไทย - จิตร ภูมิศักดิ์
59. กบฏ ร.ศ. 130 - เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์
60. เจ้าชีวิต - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
61. ศาลไทยในอดีต - ประยุทธ สิทธิพันธ์
62. ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคม - ชัย เรืองศิลป์
63. สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2325 - 2416 - ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์
ข. การเมือง,ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย, เศรษฐศาสตร์
64. ทรัพยศาสตร์ - พระยาสุริยานุวัตร
65. เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 - กุหลาบ สายประดิษฐ์
66. ความเป็นอนิจจังของสังคม - ปรีดี พนมยงค์
67. ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก - เดือน บุนนาค
68. โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร - สนิท เจริญรัฐ
69. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง - ดิเรก ชัยนาม
70. สันติประชาธรรม - ป๋วย อึ๊งภากรณ์
71. ห้าปีปริทัศน์ - ส. ศิวรักษ์
72. "วันมหาปิติ" วารสาร อมธ.ฉบับพิเศษ 14 ตุลาคม 2516 - องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค. ศิลปะ ภาษาและวรรณกรรม วรรณกรรมวิจารณ์
73. วรรณคดี และวรรณคดีวิจารณ์ - วิทย์ ศิวะศิริยานนท์
74. ประติมากรรมไทย - ศิลป พีระศรี
75. วรรณสาส์นสำนึก - สุภา ศิริมานนท์
76. วิทยาวรรณกรรม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
77. ความงามของศิลปไทย - น. ณ ปากน้ำ
78. ภาษากฎหมายไทย - ธานินทร์ กรัยวิเชียร
79. วรรณไวทยากร ชุมนุมบทความทางวิชาการ ฉบับวรรณคดี - เจตนา นาควัชระ และมล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
80. แสงอรุณ 2 - แสงอรุณ รัตกสิกร
ง. สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม
81. พระราชพิธีสิบสองเดือน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
82. สาส์นสมเด็จ - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
83. 30 ชาติในเชียงราย - บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
84. เทียนวรรณ - สงบ สุริยินทร์
85. กาเลหม่านไต - บรรจบ พันธุเมธา
86. นิทานชาวไร่ - น.อ.สวัสดิ์ จันทนี
87. ภารตวิทยา - กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย
88. ฟื้นความหลัง - พระยาอนุมานราชธน
89. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ - จิตร ภูมิศักดิ์
90. อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร - หม่อมศรีพรหมา กฤดากร
91. 80 ปีในชีวิตข้าพเจ้า - กาญจนาคพันธ์
จ. ศาสนา, ปรัชญา
92. พระประวัติตรัสเล่า - สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
93. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน - สุชีพ ปุญญานุภาพ
94. ปัญญาวิวัฒน์ - สมัคร บุราวาศ
95. พุทธธรรม - พระธรรมปิฎก
96. อิทัปปัจจยตา - พุทธทาสภิกขุ
ฉ. ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์
97. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ - เจ้าพระยาทิพากรวงษ์
98. แพทยศาสตร์สงเคราะห์ - คณะกรรมการแพทย์หลวงในรัชกาลที่ 5
99. ธรรมชาตินานาสัตว์ - บุญส่ง เลขะกุล
100. ขบวนการแก้จน - ประยูร จรรยาวงษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น